วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติบาสเกตบอล

บาสเกตบอล  ประวัติกีฬาบาสเกตบอล กีฬาของชาวอเมริกัน มีจุดเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร และบาสเกตบอลกฎกติการการเล่นอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ 

          กีฬาบาสเกตบอล นับว่าเป็นกีฬาอีกชนิดหนึ่งที่เป็นกีฬายอดนิยมของคนไทย มีสหรัฐอเมริกาเป็นเเจ้าของการแข่งขันกีฬานี้ อย่างไรก็ดี หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า กีฬาที่มีเอกลักษณ์คือการชู้ตลูกบอลลงห่วง มันมีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็นคนคิด วันนี้เรามีคำตอบมาให้ครับ

ประวัติบาสเกตบอล


          การถือกำเนิดขึ้นของกีฬาบาสเกตบอลเกิดขึ้นที่เมืองสปริงฟิล รัฐแมสซาชูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) โดย ดร.เจมส์ ไนสมิธ อาจารย์พละศึกษาของโรงเรียนคนงานคริสเตียน (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยสปริงฟีล) ต้องการให้มีการแข่งขันกีฬาในร่มช่วงฤดูหนาว พร้อมกับกำหนดกติกา 5 ข้อ สำหรับการเล่น

http://hilight.kapook.com/view/88724

กติกาบาสเกตบอล 13 ข้อ - กฎของบาสเกตบอล กติกา 13 ข้อ ของ Dr.James มีดังนี้

1. ห้ามผู้เล่นถือลูกบอลวิ่ง

2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใหนก็ได้ จะใช้มือเดียว-สองมือก็ได้

3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใหนก็ได้ จะใช้มือเดียว-สองมือก็ได้

4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองข้างครอบครองบอล และห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล

5. ในการเล่นห้ามใช้ไหล่กระแทก ห้ามใช้มือดึง ห้ามผลัก ห้ามตี หรือห้ามกระทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลง ถ้าผู้เล่นยังฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ครบ 2 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถทำประตูได้จึงกลับมาเล่นได้อีกครั้ง หากเกิดการบาดเจ็บในการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนผู้เล่น

6. ห้ามใช้ขา-เท้าแตะลูก ถ้าฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง

7. ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำฟาวล์ติดกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู

8. ประตูที่สามารถทำได้หรือนับว่าได้ประตู จะต้องเป็นการโยนบอลให้ลงในตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งกับประตูไม่ได้โดยเด็ดขาด

9. เมื่อถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำลูกออกนอกสนาม อีกฝ่ายหนึ่งต้องส่งลูกเข้ามาในสนามจากขอบสนามภายใน 5 วินาที หากเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และหากผู้เล่นฝ่ายใดก็ตามพยายามถ่วงเวลาให้ปรับเป็นฟาวล์

10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดทำฟาวล์ และมีหน้าที่ลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์การเล่น

11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดที่ออกนอกสนาม และฝ่ายใดควรเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าสนาม และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลา,บันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่โดยทั่วไปตามวิสัยผู้ตัดสิน

12. การเล่นนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที

13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ แต่ในกรณีที่คะแนนเท่ากันให้ทำการต่อเวลาออกไปอีก ฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะถือว่าเป็นฝ่ายชนะ


         เกมการบาสเกตบอลจะแบ่ง 4 ควอเตอร์ (quarter) ซึ่งแต่ละควอเตอร์นั้นจะมี 10 นาที (สากล) หรือมีเพียง 12 นาที (เอ็นบีเอ) พักครึ่ง 15 นาที ส่วนพักอื่นๆอีก 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) นาน 5 นาทีทีมแต่ละทีมจะเริ่มสลับฝั่งช่วงครึ่งหลัง เวลาจะนับเฉพาะขณะที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดนับเวลาเมื่อหยุดเกม ดังนั้น เวลาในการแข่งขันจึงยาวนานมาก (ประมาณสองชั่วโมง)

          ในที่เริ่มเกมส์จะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และและจะมีตัวสำรองทีมละ 7 คน ซึ่งสามารถเปลี่ยนตัวผู่เล่นได้ไม่จำกัด การเปลี่ยนนั้นจะเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุดเท่านั้น ทีมยังคงมีโค้ชผู้ซึ่งคอยดูแลทีมและเป็นผู้วางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้, ผู้จัดการทีม, นักสถิติ, แพทย์และเทรนเนอร์

          เครื่องแบบมาตรฐานของผู้เล่น ชาย-หญิงได้แก่ กางเกงขาสั้น เสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้า-หลัง รองเท้า จะเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า ซึ่งอาจมีชื่อทีม, ชื่อนักกีฬา หรือสปอนเซอร์ พิมพ์อยู่บนชุดด้วย

          แต่ละทีม จะได้เวลานอกเพื่อให้โค้ชและผู้เล่นได้ปรึกษาหาลือกัน ซึ่งเวลาที่ใช้มักไม่เกินหนึ่งนาที

         เกมจะถูกควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ (หน้าของกรรมการโต๊ะ : บันทึกคะแนน, ควบคุมเวลา, บันทึกจำนวนการฟาล์วผู้เล่น-การฟาล์วทีม ดูแลเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ ช็อตคล็อก)




    http://thailandbasketball.blogspot.com/2012/04/13-rules-of-basketball.html

    ความรู้สึกของการแอบรัก...

    ยิ้มบางๆ จากมุมๆ หนึ่ง
    ยิ้มกว้างๆ จากด้านหลังอันไกลลิบ
    ยิ้มเศร้าๆ เพียงเพราะเขาไม่ได้เดินอยู่คนเดียว
    การแอบมองดูอยู่ห่างๆ จากการแอบรักใครสักคน แล้วเก็บไว้อย่างมิดชิด เพียงเพื่อจะได้อยู่ใกล้ๆ ใครบางคนที่เรารู้สึกรักเขาเพียงฝ่ายเดียว  เป็นความโง่เขลาหรือไม่?
    ในทางตรงข้าม...การลุกขึ้นมาบอกรักใครสักคนที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อนสนิท รุ่นพี่ที่เคารพรัก เป็นความฉลาดที่สมควรทำแล้วหรือ?
    ความรู้สึกของการได้แอบรักใครสักคน เมื่อแรกเริ่มช่างสุขใจนัก แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป...ยิ่งปล่อยหัวใจไปตามเข็มนาฬิกาที่เดินไม่หยุด มันก็ยากเกินจะตัดใจเสียแล้ว
    ยิ้มบางๆ ที่มุมปาก เกิดขึ้นเพียงเพราะได้เห็นเขาเดินผ่านไป เริ่มขยายกว้างขึ้น เมื่อเขาเข้ามาทักทาย พูดคุย ห่วงใย จนกลายเป็นรอยยิ้มส่วนหนึ่งในตัวเราเพียงแค่ได้เห็นเขาจากด้านหลัง
    จนบัดนี้ ยิ้มนั้น ยิ่งกว้างขึ้น กว้างขึ้นจนน่าใจหาย ไม่ว่าเขาจะทำอย่างไร แลดูจะยิ่งทำให้หัวใจพองโต และเบิกบานได้เท่าตัว คำพูดทักทายง่ายๆ ที่ดูจะไม่ส่อแววว่าเขาจะมีใจให้ ถามถึงดินฟ้าอากาศ เรื่องงาน ถามหาคนรู้จัก ดูจะเป็นเรื่องที่ทำให้ยิ้มได้เสมอ เพียงแค่นึกถึงว่า วันนี้ เราได้คุยอะไรกันบ้าง?
    บางวัน...มีเรื่องที่ตื่นเต้นจนทำให้ แก้มแทบปริ...เมื่อเขาคนนั้น เพียงโทรศัพท์มาหา เพราะมีธุระจำเป็นต้องคุยด้วย แค่เห็นชื่อบนหน้าจอโทรศัพท์ ก็ดูจะไม่ต้องรับ ก็ทำให้ยิ้มนั้นกว้างเกินจะบรรยายแล้ว คงต้องใช้เวลาสัก 10 วินาที ในการตั้งสติ เพื่อไม่ให้เขาจับน้ำเสียงตื่นเต้น ดีใจเหล่านั้นได้ จำทุกรายละเอียดที่เกี่ยวกับเขา ทุกอย่างที่เขาชอบ ทุกอย่างที่เขาเป็น หรือแม้แต่บุคลิกของคนที่เขาชอบ
    ยิ้มแก้มแทบแตกกับข้อความสั้นๆ ที่ส่งมาตามมารยาท หลังจากที่เราส่งข้อความดีดีไปให้เขาก่อนอย่างแนบเนียนในช่วงเทศกาล หรือรู้ว่า คนกำลังเดินทางไปไหนไกลๆ เพียรอ่านข้อความเหล่านั้นซ้ำไปซ้ำมา ไม่รู้จักเบื่อ แม้ว่าข้อความจะแสนสั้น แต่ทำให้ช่างทำให้หัวใจพองโตได้เช่นนี้
    ความรู้สึกที่ไปไกลเกินกว่าจะฉุดรั้ง เพราะการไม่ห้ามหัวใจตัวเองเริ่มน่าเป็นห่วงหนักขึ้น เมื่อเห็นว่า เขามีใครบางคนอยู่ข้างกายเสมอ โดยที่ไม่เคยจะมีสักครั้งที่คนคนนั้นจะเป็น "เรา" ยิ้มกว้างๆ แลจะกลายเป็น ยิ้มเศร้า ที่ฝืนและฝืดเต็มทน ที่จะต้องแสดงความยินดีกับรักครั้งใหม่ของเขา
    ใครเลยจะรู้บ้างว่า แท้จริงแล้ว เขารู้สึกเช่นไร เขาอาจจะรู้สึกเช่นเดียวกันเรา แต่ก็ไม่แสดงออกมาเช่นเดียวกัน หรือเขาเองก็ไม่ได้คิดอะไรเกินเพื่อน และเพราะความที่เราสนิทกันมาก จนเกินกว่าจะกล้าเอ่ยความรู้สึกจริงๆ ในใจออกไปว่า "ฉันรักคุณ ฉันชอบคุณมาตั้งนานแล้ว" เมื่อเขาเองไม่เคยส่งสัญญาณใดๆ ด้วยเกรงว่าความสัมพันธ์อันดีที่จะมีต่อกันจะต้องสูญสลายไป จากการเปิดเผยความรู้สึกที่แท้จริงออกไป
    แต่ถ้าเขาเองก็รู้สึก และรอสัญญาณจากเราบ้างละ เราอาจจะสูญเสียความรักครั้งนี้ไป เพียงเพราะเราไม่พูดอะไรต่อกันก็เป็นได้
    นั่นเป็นความรู้สึกที่ฉันคิดและเป็นมาตลอด ฉันจะปิดบังความรู้สึกที่มีต่อใครคนหนึ่งไว้อย่างแนบเนียน แต่จะแกล้งแสดงออกมาชอบอีกคนซะเต็มประดาได้อย่างไม่ขัดเขิน เพราะฉันกลัวว่า ความเป็นเพื่อนระหว่างเราจะสูญเสียไป แต่เมื่อไม่นานนี้ ฉันเคยลอง "แหกกฎ" ของตัวเองดูบ้าง ลองบอกความรู้สึกของตัวเองกับใครบางคนไปบ้าง แล้วมันก็พังไม่เป็นท่า เหมือนที่คิดไว้ไม่มีผิด จนบางครั้ง มันก็ทำให้ฉันคิดว่า ถ้าฉันเป็นอย่างเดิม ไม่เปิดเผย เก็บเงียบคงจะดีกว่า แต่ถึงวันนี้ ฉันก็ไม่เคยเสียใจ ที่ตัดสินใจบอกกับเขาไปในวันนั้น แม้ว่าจะมีเรื่องวุ่นวายมากมายตามหลังมาก็ตาม
    จนเมื่อไม่นานนี้...ความรู้สึกเก่ามันกลับมาทักทายฉัน เพียงแต่ไม่ใช่กับคนเดิม กลับเป็นใครบางคนที่ฉันเองคุ้นเคยมายาวนาน ที่ทำให้ฉันมีคำถามอีกครั้งว่า... ฉันจะเก็บมันต่อไปเหมือนที่เคยเป็น หรือควรจะเปิดเผยให้เขาได้รับรู้บ้าง?
    แล้วถ้าเป็นเพื่อนๆ ละ ถ้าต้องแอบรัก หรือแอบชอบใครสักคนหนึ่ง จะเลือกทำอย่างไร ยิ้มอยู่คนเดียวไปเรื่อยๆ หรือตัดสินใจบอกความรู้สึกไปเมื่อถึงแก่เวลาอันควร
    เรื่องที่เขียนมา ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแค่อยากรู้ ความรู้สึก ความคิดเห็นจากเพื่อนๆ บ้างว่า จะจัดการ กับการ "แอบรัก" ใครสักคนของตัวเองอย่างไร


    http://oknation.nationtv.tv/blog/mylove/2007/08/06/entry-1

    การตั้งโซนในเกมรับของบาสเกตบอล (Defense)

    การตั้งโซนในเกมรับของบาสเกตบอล (Defense)


    1. การตั้งรับแบบ 2 - 1 - 2

         นิยมเล่นกันมาก เพราะสามารถเปลี่ยนสภาพของรูปแบบได้ง่ายโดยการเคลื่อนที่ของคนกลางขึ้นหรือลงเพียงคนเดียวเท่านั้นก็จะทำให้รูปแบบเปลี่ยนไป
         การตั้งรับแบบนี้มักใช้กับทีมตรงข้ามที่เก่งในการส่งลูกบอลวงนอกซึ่งสามารถป้องกันพื้นที่เขตโทษได้ดี และป้องกัน การยิงประตู ในระยะไกลการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า2 คน อยู่กลาง 1 คน อยู่หลัง 2 คนโดยแต่ละคนจะต้องคอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน

    2. การตั้งรับแบบ 1- 2 - 2

         เป็นการป้องกันการยิงประตูในระยะไกลบริเวณหัวกะโหลกของเขตโทษได้ดีแต่ด้อย ในการป้องกันฝ่ายตรงข้ามที่รุกใต้แป้นและการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 1 คน อยู่กลาง 2 คน อยู่หลัง 2 คนคอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน

    3. การป้องกันแบบ 3 – 2

         ใช้เมื่อผู้เล่นศูนย์หน้าและผู้เล่นหลังหรือการ์ด2 คนยิงประตูวงนอกได้แม่นยำ แต่ขาดประสิทธิภาพในการรุกใต้แป้นโดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่นอยู่หน้า 3 คน และอยู่หลัง 2 คนคอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน

    4. การป้องกันแบบ 2 – 3

         มักใช้กับทีมตรงข้ามที่มีความสามารถรุกใต้แป้นได้ดีโดยการตั้งรับแบบนี้จะมีผู้เล่น 2 คน อยู่หน้าและอยู่หลัง 3 คนคอยดูแลรับผิดชอบในพื้นที่ของตน

    5. การป้องกันแบบ ตัวต่อตัว


         วิธีปฏิบัติ
         -ยืนเตรียมพร้อม และเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของฝ่ายรุก และต้องติดตามไปเป็น เงาตามตัวพยายามขวางทิศทางการเคลื่อนที่ของคู่แข่งขัน
         -สายตาจะต้องจับจ้องอยู่ที่ลูกบอล และคู่แข่งขันของตนตลอดเวลา
         - ยกมือกันคู่ต่อสู้ไม่ให้ส่งลูกบอลได้สะดวกพร้อมทั้งพยายามดึง หรือแย่งลูกบอล ไปครอบครอง




    http://xn--12cg4csca0frbf1a4c6a1lf.blogspot.com/2012/01/defense.html

    12. พื้นฐานกีฬาบาสเกตบอล: การเล่นเกมส์รุก

    การรุกแบบโต้กลับเร็ว (Fast break)
    เพื่อให้การรุกแบบโต้กลับเร็วได้ผลดี คุณต้องวางตัวผู้เล่นที่มีความเร็วสูง และในนั้นต้องมีคนตัวใหญ่ และรวบรวมคนที่มีความสามารถในการรีบาวนด์ได้ดี เมื่อแย่งบอลได้แล้วส่งบอลให้การ์ดในทันที ในรูปแบบนี้เรียกว่า “วิ่งและยิง” (run and gun) ความคิดต้องเร็ว ส่งบอลขึ้นหน้าได้เร็วโดยไม่มีตัวป้องกัน ง่ายต่อการทำคะแนน

    แน่นอนว่าวิธีการเกือบทั้งหมดในสนามต้องรีบาวนด์ วิ่งเร็ว ส่งบอล ในการฝึกคุณต้องฝึกบนพื้นฐานของทักษะนี้ ให้ดีด้วยการออกบอลได้เร็วและแม่นยำ แต่การรุกแบบโต้กลับเร็วจะไม่ได้ผล ถ้าฝ่ายตรงข้ามสามารถกลับมาตั้งรับได้เร็ว และทำให้พวกคุณต้องเปลี่ยนเป็นรูปแบบครึ่งสนาม ทีมที่ฝึกการโต้กลับเร็วโดยเฉพาะบ่อยๆ จนเล่นเกมส์รุกแบบช้าๆค่อยๆหาช่องทางไม่ค่อยได้ จะเป็นปัญหา

    รูปแบบการรุกแบบครึ่งสนาม (Patterned Half-court)
    หากคุณเลือกที่ค่อยๆรุก คุณต้องการเวลาฝึกสอน ทำความเข้าใจ อธิบายให้เข้าใจว่าเล่นอย่างไร ให้ค่อยๆฝึกทำซ้ำๆ จนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ ผู้เล่นพ้อยท์การ์ด (point guard) จะเป็นผู้คุมเกมส์รุก เขาจะเป็นคนเรียกแผนการเล่น เคลื่อนที่ ส่งบอลไปมา จนกว่าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะมีโอกาสทำคะแนน

    แน่นอนว่าผู้ฝึกสอนที่ดีจะสอนผู้เล่นทั้งสองรูปแบบ จะใช้การโต้กลับเร็วเมื่อมีโอกาส แต่พวกเขาต้องเรียนด้วยว่าจะตั้งรับอย่างไร หากโต้กลับไม่สำเร็จ

    การวางตัวผู้เล่น
    ถ้าคุณจะเป็นผ็ฝึกสอนกีฬาบาสเกตบอล คุณต้องวางตำแหน่งผู้เล่นให้เหมาะสม นี่คือการอธิบายอย่างคร่าวๆของการวางตัวทั้งห้าตำแหน่งในสนาม

    1. พ้อยท์การ์ด (Point Guard) จะเป็นผู้เล่นที่เป็นตัวครองบอลเพื่อพาทีมสู่เกมส์รุก พ้อยท์การ์ดจะทำหน้าที่เหมือนควอเตอร์แบ็กในกีฬาอเมริกันฟุตบอล พ้อยท์การ์ดต้องเป็นคนครอบครองบอลไปกับบอลได้ดี และสามารถรู้สถานการณ์รอบๆ นั่นคือต้องสามารถเลี้ยงบอลโดยที่ไม่ต้องมองบอล หากสามารถกระโดดยิง และแหวกเข้าใต้แป้นได้ดี คือพรสวรรค์สำคัญที่ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องมี

    2. ยิงติ้งการ์ด (Shooting Guard) ผู้เล่นตำแหน่งนี้ต้องมีทักษะการเลี้ยงบอลที่แน่นอน ส่วมมากจะเป็นคนทำคะแนนประจำทีมและทำคะแนนได้มาก เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า (ออฟการ์ด: off guard) โดยปกติ ยิงติ้งการ์ด คือ ผู้เล่นที่เก่งที่สุดในทีม

    3. สมอลฟอร์เวิร์ด (Small Forward) ตำแน่งนี้จะเป็นผู้เล่นสารพัดประโยชน์ สามารถเล่นได้ดีทั้งการรุกและการรับ มีทักษะการยิงและเลี้ยงบอลได้ดี ในขณะที่ใช้ร่างกายและความแข็งแร่งเพื่อเบียดแย่งลูกรีบาวนด์ใต้แป้น อย่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับชื่อตำแหน่ง

    4. เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด (Power Forward) ตำแหน่งนี้เป็นที่รู้ดีว่าเป็นตัวรีบาวนด์ทั้งฝั่งตนเองและฝั่งคู่แข่ง ในเกมส์รับเพาเวอร์การ์ดสามารถเป็นคนเริ่มต้นการรุกแบบโต้กลับเร็วด้วยการรีบาวนด์แย่งลูก แล้วส่งบอลทันทีโดยเร็วให้การ์ดคนใดคนหนึ่ง ตัวใหญ่และแข็งแกร่ง ตำแหน่งเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ดไม่ได้ตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในทีม แต่จำเป็นต้องมีในทีม

    5. เซ็นเตอร์ (Center) เพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จ ทีมต้องมีผู้เล่นตัวใหญ่ที่สุดอยู่ในสนาม เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ผู้เล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์ คือคนที่ตัวใหญ่ที่สุดในทีม หน้าที่ของเซ็นเตอร์คือเป็นตัวรีบาวนด์ลูกทั้งในแดนตัวเองและแดนคู่ต่อสู้ที่ไว้ใจได้ เป็นที่รู้กันว่าเซ็นเตอร์ คือคนที่ทำคะแนนให้ทีมน้อยมาก

    แบบฝึกการรุก
    ในการฝึกทักษะพื้นฐานในกีฬสาบาสเกตบอล พยายามสอดแทรกฝึกทักษะเบื้องต้นระหว่างการฝึกซ้อมเสมอ ให้ผู้เล่นทุกคนดูและอธิบายจากกระดานแผนผังในตำแหน่งเฉพาะตัวเอง เช่น การเล่นแบบให้แล้วไป “give and go” สามารถอธิบายโดยใช้กระดานแผนผัง แล้วให้ผู้เล่นได้ปฏิบัติจริง

    แสดงให้ผู้เล่นได้เห็นบนกระดานแผนผัง หลังจากนั้นคุณทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เมื่อผู้เล่นได้เห็นวิธีการเล่นต้นแบบ คุณก็สามารถที่ฝึกซ้อมการเล่นนี้ 2-3 ครั้งในการฝึกซ้อมนั้น ทดสอบรูปแบบ วิธีการเล่นช้าๆ ก่อนที่เล่นจริงๆแบบเร็วเต็มที่ ต้องแน่ใจว่าผู้เล่นทุกคนเข้าใจการเคลื่อนที่ คุณอาจจะเสริมตลกบ้างด้วยการให้ผู้เล่นเรียกการเล่นนี้ว่าอะไรก็ได้ที่เขาต้องการเรียก

    โต้กลับเร็ว (Fast Break)
    ทีมเล่นเกมส์รุกได้ดูดี ทำคะแนนได้ง่ายๆ เสมอ ทางเดียวที่สามารถทำให้พวกเขาพาบอลไปยังแดนคู้ต้อสู้ได้รวดเร็ว ก่อนที่ทีมคู่แข่งจะกลับมาตั้งรับได้ทัน การโต้กลับเร็ว เกิดขึ้นได้เสมอเมื่อทีมยิงพลาดหรือยิงโทษ ทีมต้องเอาบอลมาครอง แล้วพาบอลไปแดนตรงข้ามอย่างเร็วที่สุด และใช้ความได้เปรียบตัวผู้เล่น เช่น ฝ่ายรุก 2 คนต่อฝ่ายรับ 1 คน หรือ ฝ่ายรุก 3 คน ต่อฝ่ายรับ 2 คน

    จะจบอย่างไร
    การโต้กลับเร็ว ต้องพาบอลผ่านกลางสนามโดยที่ผู้เล่นฝ่ายรุกอื่นคอยตามประคองทั้งสองข้าง คนถือบอลควรหยุดใกล้เขตเส้นฟาวล์ หากผู้เล่นด้านข้างทั้งสองมีตัวประกบ ก็จะมีโอกาสให้ยิงระยะ 15 ฟุตได้ แต่หากฝ่ายตรงข้ามพยายามเข้าหาคนถือบอล ผู้เล่นที่ว่างตามด้านข้างให้ถ่างออก เพื่อรับบอลและเข้าเลย์อัพ


    แหวกแนวป้องกัน (Pick and Roll)
    จอห์น สต็อกตัน (John Stockton) และ คาร์ล มาโลน (Karl Malone) อดีตสองผู้เล่นของทีมยูท่าห์ แจ๊ส (Utah Jazz) ทั้งสองคนโดดเด่นมากกับการเล่นแหวกแนวป้องกัน (pick and roll) การเล่นแบบนี้ได้ผลดี ถึงแม้ฝ่ายรับจะรู้ตัวว่ากำลังโดนบุก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้

    จำไว้ว่าการเล่น pick and roll น่าจะเป็นแบบเฉพาะเมื่อต้องเจอกับการตั้งรับแบบประกบตัวต่อตัว การเล่นสามารถเล่นได้โดยใช้ผู้เล่นฝ่ายรุกแค่ 2 คน การเล่น pick and roll มี 3 วิธี แต่ละวิธีถูกออกแบบมาเพื่อให้มีโอกาสสูงในการทำคะแนนสำหรับเกมส์รุก


    แหวกแนวป้องกันเพิ่อกระโดดยิง
    1. ผู้เล่นพ้อยต์การ์ด(1) เลี้ยงบอลด้านข้างสนาม ในขณะที่ผู้เล่นอีก 4 คน พยายามหาที่ว่างห่างจากตัวประกบ แต่ละวิธีผู้เล่นเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด(4) แยกหาที่ว่างบริเวณด้านซ้ายของสนาม

    2. การ์ด(1) พาตัวประกบไปทางด้านซ้ายของสนาม เพื่อนร่วมทีม(4) วิ่งไปที่ว่างทางด้านเดียวกันเพื่อรับบอล

    3. เพื่ออยู่ในตำแหน่งพร้อมรับ การ์ด(1) เลี้ยงบอลเข้าไปใกล้ๆเพื่อนร่วมทีม(4) และพยายามหาตำแหน่งที่ได้เปรียบตัวประกบ

    4. ในขณะที่ผู้เล่นฝ่ายรับอีกคนวิ่งเข้าประกบผู้เล่น4, ผู้เล่น4 วิ่งไปยังมุม เมื่อเห็นช่อง ให้การ์ด(1) เลี้ยงบอลแหวกผู้เล่นเกมส์รับทั้งสองคนอย่างเร็วที่สุด โดยผ่านผู้เล่น4 เพื่อเข้าใกล้แป้นและกระโดดยิง
    https://tatama555.wordpress.com/2014/10/18/12-%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B8%81/

    วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

    การเลย์อัพ(Lay Up)

    การเลย์อัพ(Lay Up)
    การเลย์อัพเป็นอีกส่วนสำคัญในการเล่นบาส อาจจะดูว่าเลย์อัพเป็นแค่การชู้ตง่ายๆแต่มันจะง่ายก็ต่อเมื่อคุณเลย์อัพเป็น และเมื่อคุณเลย์อัพได้ อย่างชำนาญแล้ว ขั้นต่อไปก็จะเป็นการดั๊งในเกม การแข่งขันลูกเลย์อัพจำเป็นและสำคัญมาก

    วิธีการเลย์อัพ
    ขณะ เคลื่อนที่ไปกับบอล ให้ก้าวเท้าหนึ่งก้าวขึ้นชู้ต จะมีจังหวะที่ง่ายๆนั่นคือก้าวเท้า หนึ่ง-สอง ในกรณีเลย์อัพขวา เท้าขวาจะเป็น หนึ่ง และเท้าซ้ายจะก้าวตามเป็นสอง ในกรณีเลย์อัพซ้ายจะ ทำกลับกัน โดยที่ หนึ่งจะเป็นการก้าวเพื่อเป็นขาหลักไว้ก่อน และ สองจะเป็นขาที่ทำการกระโดดขึ้นไปเลย์อัพ

    ส่วนการปล่อยบอลจะมีการ ปล่อยสองแบบนั่นคือ
    1.การปล่อยแบบหงายมือ
    2.การปล่อยแบบควํ่ามือ (แบบเดียวกับการชู้ตบอล)

    1.การปล่อยบอลแบบหงายมือ
    การปล่อยบอล แบบหงายมือนั้นจะเป็นการปล่อยบอลที่ใช้กับการเลย์อัพทั่วไป จะเห็นว่า โดยพื้นฐานการเลย์อัพจะใช้การปล่อยบอลด้วยการหงายมือเป็นส่วนใหญ่
    วิธีการ
    เมื่อเทคตัวลอยขึ้น ให้ยืดแขนที่มีบอลอยู่ให้สุดแล้วก็หงายมือใช้ข้อมือและปลายนิ้วปล่อยเบาๆ ไป ยังเป้าหมาย

    2.การปล่อยบอลแบบควํ่ามือ
    จะเหมาะสำหรับผู้ที่ เริ่มฝึกการปล่อยบอลและการชู้ต จะใช้ในบางสถานการณ์ หรือแล้วแต่จังหวะ ของเกม
    วิธีการ
    เมื่อเทคตัวขึ้น ให้งอแขนข้างที่มีบอลให้เหมือนกับการชู้ต พร้อมปล่อยบอลด้วยข้อมือและปลายนิ้ว จะทำเหมือนกับการชู้ต

    ในการ แข่งขันฝ่ายป้องกันจะสามารถตามเราได้ทันในบางจังหวะที่เราจะเลย์อัพ ให้ยกแขนข้างที่ว่าง(ไม่มีบอล)ขึ้นมาบังบอลเอาไว้
    เพื่อ เวลาที่ตัวกันพยายามจะปัดลูกจากมือเรา แต่เมื่อปัดมาโดนแขนที่บังไว้เราก็จะได้ฟาล์วเค้าก็จะเสียฟาล์ว

    การเทคตัวขึ้นนั้นต้องกระโดดขึ้นให้สุด แล้วยืดแขนให้สุดเช่นกัน พยายามลอยตัวให้นานๆ

    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเลย์อัพ
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://raptorz.myfri3nd.com/blog/2008/04/22/entry-1

    วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

    การชู๊ตบาส

    การชู้ตลูกเพื่อทำคะแนนของบาสเกตบอล



    1. การยืนยิงประตูมือเดียว
         -ผู้เล่นยืนแยกเท้าประมาณ1 ช่วงไหล่ ยืนเท้านำ และเท้าตาม(ยิงด้วยมือขวา) ให้เท้าขวาอยู่หน้าโดยยืนให้เต็มฝ่าเท้าส่วนเท้าซ้ายที่อยู่ด้านหลังให้ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย
         -ตั้งมือที่ใช้ยิงขึ้นระดับไหล่ มืออีกข้างหนึ่งประคองด้านข้างของลูกบอล
         -ตามองตรงไปยังห่วงประตู ย่อเข่าลงเล็กน้อย ส่งแรงจากเท้าหัวไหล่และอาศัยแรงจากการหักข้อมือ การสปริงของนิ้วมือโดยให้ลูกบอลลอยโด่งลงในห่วงประตู
         - ลักษณะของลูกจะหมุนกลับเล็กน้อยใช้นิ้วบังคับลูกบอลให้ลอยสูงโค้งไปตามทิศทาง ที่ต้องการแขนที่ยิงประตูเคลื่อนที่ตามทิศทางที่ยิงลูกบอลออกไป

    2. การกระโดดยิงประตู
         -ผู้เล่นยืนแยกเท้าประมาณ 1 ช่วงไหล่ ปลายเท้าเหลื่อมล้ำกันเล็กน้อย สายตามองที่ห่วงประตู
         -ย่อเข่าและย่อตัวลงพอถนัดเพื่อตั้งลูกบอลตามท่าที่ผู้ยิงถนัด (มือเดียวหรือสองมือ)
         -กระโดดขึ้นให้ตัวลอย ขณะที่ตัวลอยนิ่งแล้วให้ส่งแรงจากหัวไหล่ แขน และมือที่ถือลูกบอล ผลักลูกบอลให้ลอยโค้งออกไปลงห่วงประตู ตามทิศทางที่ต้องการ
         - ขณะที่ยิงแล้ว ลำตัวแขนควรเหยียดตรงใช้นิ้วมือบังคับลูกบอลให้ไปตามทิศทาง ที่ต้องการเมื่อยิงแล้วขณะลงสู่พื้นลงด้วยปลายเท้าแล้วย่อเข่าเล็กน้อยเพื่อลดแรงกระแทกของเท้ากับพื้น

    3. การก้าวเท้ายิงประตูแบบหงายมือ (Lay-up) มีวิธีปฏิบัติดังนี้
         -ขณะเคลื่อนที่เข้ารับลูกบอล หรือเลี้ยงลูกบอลอยู่ให้จับลูกบอลในขณะที่เท้าข้างขวาก้าวตกลงพื้นนับเป็นจังหวะที่ 1 
    (ยิงประตูด้วยมือข้างขวา )
         -ก้าวเท้าอีกข้างหนึ่ง ( เท้าข้างซ้าย)พร้อมทั้งเตรียมตั้งลูกบอลเพื่อยิงประตูแบบหงายมือ เป็นจังหวะที่ 2
         -ให้กระโดดลอยตัวพ้นพื้น พร้อมยกเท้าอีกข้างหนึ่ง ( เท้าข้างขวา ) งอเข่าไปข้างหน้าหงาย มือใต้ลูกบอลพร้อมยิงประตู การลอยตัวให้ ลอยตัวให้สูงที่สุดและใกล้ห่วงประตูมากที่สุด แล้วจึงปล่อยลูกบอลเข้าหาห่วงประตู
         - เมื่อลงสู่พื้นมักจะลงด้วยเท้าที่ละข้างให้ลงด้วยปลายเท้าคล้ายกับการก้าวเท้าวิ่งหมายเหตุถ้ายิงประตูด้วยมือข้างซ้ายให้จับลูกบอลในขณะที่เท้าข้างซ้ายก้าวตกลงพื้น

           http://xn--12cg4csca0frbf1a4c6a1lf.blogspot.com/2012/01/blog-post_15.html

    การเลี้ยงบอล


    การเลี้ยงบอล ( Dribbling )
                     ขณะเลี้ยงบอลผู้เล่นควรนำลูกบอลไปไว้ด้านข้างลำตัวเพื่อหลีกเลี ่ยงการป้องกันหรือการเข้าแย่งของฝ่ายตรงข้าม
                     วิธีเลี้ยงบอล ควรใช้นิ้วกดลงที่ลูกบอลอาจช่วยส่งแรง และควรฝึกหัดการใช้มือทั้งสองข้างช่วยในการเลี้ยงบอล สิ่งสำคัญของการเลี้ยงบอล คือ ไม่ควรมองลูกบอลที่ตนเองกำลังเลี้ยงอยู่ ให้มองผู้เล่นหรือทิศทางในสนาม  
                      



                      
              การเลี้ยงบอลเปลี่ยนตำแหน่ง ( The Change-of-Pace Dribble )
                     การเลี้ยงบอลชนิดนี้มีความสำคัญอีกประการหนึ่ง เนื่องจากทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันไม่สามารถคาดเดาได้ว่าผู้เลี้ ยงบอลนั้นจะเคลื่อนที่เร็วช้า หยุดอยู่กับที่ ส่งบอล หรือยิงประตู

              การเลี้ยงบอลต่ำ ( The low or Control Dribbling )
     เป็นวิธีเลี้ยงบอลของผู้เล่นเมื่อถูกป้องกันอย่างใกล้ชิด ผู้เลี้ยงบอลต้องย่อตัวฝ่ามืออยุ่บนลูกบอล ในการเลี้ยงบอลให้ลูกบอลกระทบพื้นในระดับต่ำ และควรควบคุมลูกบอลอยู่ข้างลำตัวเพื่อป้องกันการแย่งหรือปัดบอล จากฝ่ายตรงข้าม

               การเลี้ยงบอลสูง ( The High or Speed Dribble )
    เมื่อผู้เล่นเลี้ยงบอลขณะไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงป้องกันและต้องใช้ ความเร็ว สามารถใช้วิธีการเลี้ยงลักษณะนี้ โดยการผลักลูกบอลไปข้างหน้าให้ลูกบอลกระทบพื้นกระดอนระดับเอว มือไม่จำเป็นต้องอยู่ด้านบนของลูกบอล สามารถอยู่ด้านหลังของลูกเพื่อผลักไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว   

               การเลี้ยงบอลสลับซ้าย-ขวา (The Crossover Dribbling )
    การเลี้ยงบอลต้องใช้เพียงมือเดียวในการเลี้ยงบอล หากฝ่ายตรงข้ามป้องกันอย่างใกล้ชิดและผู้เลี้ยงบอลเลี้ยงข้างหน ้าฝ่ายตรงข้าม อาจถูกแย่งหรือปัดได้ง่าย ดั้งนั้นควรเลี้ยงบอลสลับซ้าย-ขวา เพื่อหลีกเลี่ยงและหลบหลีกการแย่งหรือการปัดจากฝ่ายตรงข้าม แต่หากฝึกทักษะชนิดนี้ไม่ชำนาญอาจทำให้ฝ่ายตรงข้ามแย่งหรือปัดบ อลได้

                การเลี้ยงบอลไขว้หลัง ( The Behind-the-Back Dribble )
    เป็นวิธีการเลี้ยงบอลเพื่อต้องการหลอกล่อฝ่ายตรงข้ามให้เสียจัง หวะเพื่อชิงพื้นที่หรือตำแหน่งในการเปลี่ยนทิศทาง เป็นการใช้มือออกแรงกดและผลักลูกบอลจากด้านหลังไปด้านหน้าอีกข้ างหนึ่ง เป็นลักษณะของการไขว้สลับด้านหลัง 


                การเลี้ยงบอลลอดใต้ขา ( The Between-the-Legs-Dribble )
    เป็นวิธีการเลี้ยงบอลที่ใช้มือกดลูกบอลให้ลอดใต้ขาใช้ขณะเมื่อผ ู้เล่นฝ่ายตรงข้ามป้องกันอย่างใกล้ชิด เพื่อหลบหลีกและเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ทำให้ฝ่ายตรงข้าม เสียจังหวะและเสียพื้นที่ตำแหน่ง

               การหมุนตัวเลี้ยงบอล (The Revcrse Dribble )
    เป็นวิธีการเลี้ยงบอลเพื่อหลบหลีกฝ่ายตรงข้ามและเปลี่ยนทิศทาง ใช้ลำตัวบังลูกบอลยากต่อการแย่งหรือปัดลูกบอลยากต่อการแย่งหรือ ปัดลูกบอล ทำเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเข้าประชิดตัวให้ใช้มอผลักลูกบอลไปยั งตำแหน่งอีกด้นหนึ่งพร้อมกับหมุนตัวไปด้านเดียวกันนั้น (ซ้ายหรือยวาก็ได้ )
         
                               https://sites.google.com/site/thaksakarlenbasketbxl/

    วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

    ประวัติส่วนตัว

                                                                             ปรัวัติส่วนตัว                    
     
                                                           


    ชื่อ นาย  ภานุ      รัตนพาหิระ


     ชื่อเล่น (โก๊ะ) 


    ชอบอาหาร ต้มยำกุ้ง


    กีฬาที่ชอบ บาสเกตบอล


    คติประจำใจ  ถ้าพยายามอะไรก็สำเร็จ


    การส่งลูกบาสเกตบอล

    การส่งลูกบาสเกตบอล             การส่งลูกบาสเกตบอลมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบนำมาใช้ในการเล่นบาสเกตบอลได้เป็นอย่างดี จะใช้แบบไหนช่วงไหนก็อยู่ที่สถานการณ์ของการเล่น  ประกอบด้วยแบบการส่งลูกบาสเกตบอล ดังนี้ (กรมพลศึกษา, 2539 : 96)            1.  การส่งแบบสองมือระดับอก  (Two Hands Chest Pass)                   การส่งลูกบาสเกตบอลสองมือระดับอก  เป็นวิธีการส่งที่ใช้กันมากที่สุดในการแข่งขัน  จึงนับได้ว่าการส่งลูกบอลแบบนี้เป็นหัวใจของการส่งลูกบอล   เพราะส่งได้รวดเร็วและแม่นยำทั้งในระยะใกล้และระยะห่างกันปานกลาง  มีวิธีปฏิบัติดังนี้ 
                     1.1  เริ่มจากท่ายืนทรงตัว                  1.2  จับลูกบอลด้วยมือทั้งสองระดับอกห่างตัวเล็กน้อย                  1.3  นิ้วมือทั้งห้ากางออกแนบข้างลูกบอล  หัวแม่มือทั้งสองอยู่ด้านหลังทแยงมุมซึ่งกันและกัน                  1.4  ศอกทั้งสองข้างเฉียงลงข้างลำตัวไม่เกร็ง                  1.5  หักข้อมือทั้งสองขึ้นเล็กน้อย                 1.6  ผลักบอลด้วยการเหยียดแขนและตวัดข้อมือลง  ผลักด้วยปลายนิ้ว                  1.7  สืบเท้าข้างหนึ่งไปสู่ทิศทางที่ส่งบอล  ยกส้นเท้าหลังขึ้นจะช่วยทำให้ลูกบอลพุ่งแรงและเร็วขึ้น
    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การส่งบาสเกตบอล


    http://www.ipesp.ac.th/learning/siriwan/chapter4/unit4_3_1.html