วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

การดูแลรักษาอุปกรณ์และสนามบาสเกตบอล

อุปกรณ์และสนามบาสเกตบอลควรได้รับการดูแลและเก็บรักษาให้ดี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานให้นานที่สุด เพื่อความประหยัดและเป็นการปลูกฝังให้เล่นเกิดนิสัยรักความมีระเบียบโดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
  1. เครื่องแต่งกายต้องดูแลรักษาให้สะอาดเสมอ เมื่อนำไปซักล้างต้องผึ่งแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้
  2. ลูกบาสเกตบอลต้องเก็บให้เรียบร้อยเมื่อเลิกใช้ ห้ามนำลูกบาสเกตบอลไปเล่นผิดประเภทกีฬา เช่น นำไปเตะ หรือไม่นำมารองนั่ง เพราะจะทำให้ลูกบาสเกตบอลผิดรูปทรง
  3. อย่าให้ลูกบาสเกตบอลที่ทำด้วยหนังถูกน้ำนานๆ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้มากขึ้นแล้ว ยังทำให้ลูกบอลชำรุดเร็วกว่าปกติด้วย ดังนั้นเมื่อลูกบอลถูกน้ำควรใช้ผ้าเช็ดให้แห้งทันทีก่อนที่จะนำลูกบอลมาเล่นต่อไป

     
  4. การสูบลมหรือปล่อยลมออกจากลูกบาสเกตบอล ควรใช้เข็มที่ใช้กับลูกบอลโดยเฉพาะ ถ้าใช้ของแหลมชนิดอื่นอาจจะทำให้ลูกบอลชำรุดได้ง่าย
  5. สำรวจเสาประตู กระดานหลัง หรือห่วงให้แน่นหนาแข็งแรง และปลอดภัย
  6. ห้ามกระโดดเกาะหรือห้อยโหนห่วงประตูเล่น
  7. ตาข่ายควรใช้เทปหรือลวดพันยึดให้ติดแน่นกับห่วงประตูอยู่เสมอ
  8. รักษาพื้นสนามให้เรียบ สะอาด และเส้นสนามควรชัดเจนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเล่น ถ้าชำรุดต้องรีบปรับปรุงแก้ไข จัดระเบียบการใช้สนามและอุปกรณ์ ประกาศให้ทุกคนทราบ
  9. จัดสถานที่หรือที่เก็บอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ
http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/basketball/05.html

ประโยชน์ของการเล่นบาสเกตบอล

กีฬาทุกประเภทล้วนแต่มีคุณค่าในตัวเองทั้งสิ้น จากประวัติความเป็นมาของกีฬาบาสเกตบอล สาเหตุของการคิดค้นเพื่อให้สามารถเล่นออกกำลังกายได้ในช่วงหิมะตก โดยเล่นในโรงพลศึกษาเช่นเดียวกับกรณีในประเทศไทยมีฝนตกก็เล่นในโรงพลศึกษาได้ สนามที่ใช้เล่น ก็ไม่ใหญ่โตมากนัก ซึ่งเหมาะกับสภาพปัจจุบันคือที่ดินมีราคาสูงและหาได้ยาก จำนวนผู้เล่นไม่มากนัก ผู้เล่นต้องอาศัยความเร็วและความสามารถในการเล่น นับว่าเป็นการท้าทายความสามารถในการที่จะฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะหรือความชำนาญในการเล่น ซึ่งกีฬาบาสเกตบอลได้แฝงด้วยคุณค่าและประโยชน์อีกมากมาย พอสรุปได้ดังนี้
  1. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพในด้านต่างๆ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคมแก่บุคคล
  2. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย (Motor Skill) ให้ทำงานประสานกันดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นมือ เท้า สายตาให้เคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
  3. เป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับพักผ่อน คลายความตึงเครียดแก่ผู้เล่นและผู้ชม
  4. ช่วยฝึกการตัดสินใจและรู้จักคิดแก้ปัญหา ตลอดจนมีสมาธิดี
  5. ช่วยฝึกให้มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะและรู้จักให้อภัย
  6. ใช้เป็นสื่อในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและส่วนรวม
  7. ใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาพลศึกษา
  8. ผู้เล่นที่มีความสามารถจะทำชื่อเสียงให้ตัวเอง วงศ์ตระกูลและประเทศชาติ
  9. เป็นวิชาชีพด้านหนึ่งสำหรับงานกีฬา เช่น การแข่งขัยบาสเกตบอลอาชีพ เป็นต้น

http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-1/basketball/03.html

ขนาดของแป้นบาสเกตบอล

ขนาดมาตรฐานของสนามบาสเก็ตบอล
ตามมาตรฐานของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ    (FIBA) กำหนดไว้ที่ ยาว 28 เมตร กว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบในของเส้นสนาม      ส่วนขนาดสนามที่เล็กที่สุดที่ใช้ในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตร กว้าง 14 เมตร กรณีเป็นสนามในร่ม ความสูงของเพดาน หรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร
ห่วง (The Rings)
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร
ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนาม
http://www.spaldingshop.com/basketball/index.php?option=com_content&view=article&id=81

คุณสมบัติของนักกีฬา

 นักกีฬาที่จะประสบความสำเร็จควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
  1. มีวินัย มีสัมมาคารวะ
  2. ขยันฝึกซ้อม
  3. ใฝ่หาความรู้
  4. รู้และรักหน้าที่ มีความรับผิดชอบ
  5. เชื่อฟังโค้ช และฟังคำแนะนำที่ดีของผู้อื่น
  6. ใจสู้และหนักแน่น เป็นตัวของตัวเอง
  7. มีทัศนคติหรือเจตคติที่ดี
  8. มีเหตุผล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  9. มีน้ำใจ
  10. รักชื่อเสียงของตัวเอง สถาบันและประเทศชาติ


http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/thanarat_p/takro/unit%204.5.htm

คุณสมบัติของนักกีฬาที่ดี

คุณสมบัติของนักกีฬาที่ดี
 ตนเอง 
สมรรถภาพ 
- รู้จักวิธีการเล่นของตนเอง   (ความถนัดในการเล่น)
 - รู้จุดอ่อน, จุดแข็งของตน
- รู้จักวิธีปรับปรุงการเล่นของตนเองให้ดีขึ้น, ศึกษาคู่ต่อสู้
  โภชนาการ
รับประทานอาหารถูกหลัก
      -      ละเว้นยาเสพติดและอบายมุข
-      พักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ 
ผู้ฝึกสอน 
- เคารพและเชื่อฟังผู้ฝึกสอน
- ขยันและตั้งใจฝึกซ้อม
- มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา พร้อมรับการฝึกหนัก 
นักกีฬา 
- มีความสามัคคีและรักเพื่อนพ้อง
- คิดดี พูดดี ทำดี
- มีสัมมาคารวะ
- มีเหตุผล รับฟังคำแนะนำของผู้อื่น
- รู้จักตน
- มีความเสียสละ รักชื่อเสียงของประเทศชาติ
- มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง

http://www.pongpansport.com

ขนาดสนามและขนาดของเส้น

สนามแข่งขัน (Playing Court)
        สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ แข็งปราศจากสิ่งกีดขวางที่ทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับการแข่งขันซึ่งจัด
โดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ขนาดสนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องยาว 28 เมตรและกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบใน 
ของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันอื่นทั้งหมดที่สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติรับรอง เช่น สหพันธ์ระดับโซน หรือสมาคม 
แห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบให้ใช้สนามขนาดเล็กสุดในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตรและกว้าง 14 เมตร



เพดาน (Ceiling) 
        ความสูงของเพดานหรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร

แสงสว่าง (Lighthing)
        พื้นผิวของสนามควรจะเหมือนกันและมีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นของ ผู้เล่นและของผู้ตัดสิน

เส้น (Lines) 
        เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน

 เส้นหลังและเส้นข้าง (End lines and side-lines)
        สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้นข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร
 เส้นกลาง (Center line) 
       
 เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน

เส้นโยนโทษ (Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที (Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes) 
        เส้นโยนโทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่ ในสนามที่กำหนดโดยเส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอก ของเส้นโยนโทษ เส้นจะแยกออกจากเส้นหลัง เส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที อาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ทาวงกลมกลางสนาม เขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาที เข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลาง เขตช่องยืนตามแนวเขตโยนโทษ เป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียนเส้นลักษณะ

วงกลมกลาง (Center circle)
        วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้าทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น
สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที

 พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน (Three-point field goal area)
        พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนามยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่าย ตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้
- เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตู
ของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร
- รูปครึ่งวงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน

พื้นที่เขตที่นั่งของทีม (Team bench areas) 
        พื้นที่เขตที่นั่งของทีมต้องอยู่นอกสนามด้านเดียวกับโต๊ะบันทึกคะแนน ที่นั่งของทีมเป็นดังต่อไปนี้
-แต่ละพื้นที่เขตที่นั่งของทีมจะถูกกำหนดโดยเส้นที่ต่อออกจากเส้นหลัง ยาวอย่างน้อย 2 เมตร และอีกเส้นหนึ่งยาวไม่น้อยกว่า
2 เมตร ห่างจากเส้นสนาม 5 เมตร


ตำแหน่งของโต๊ะเจ้าหน้าที่และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น
การจัดที่นั่งของทีม และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันทุกครั้งที่จัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอล
นานาชาติ และได้แนะนำให้กระทำสำหรับการแข่งขันอื่น ๆ ด้วย


https://sites.google.com/site/phadapeet/announcements

ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ กรรมการเทคนิค

1 ผู้ตัดสิน (Officials) จะมีผู้ตัดสิน (Referee) และผู้ช่วยตัดสิน (Umpire) มีผู้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะและกรรมการเทคนิคสิ่งที่เพิ่มในปัจจุบันนี้คือ ถ้าเป็นการแข่งขันของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ 
คณะกรรมการโซน หรือสมาคมแห่งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจประยุกต์ใช้ระบบผู้ตัดสิน 3 คน นั่นคือ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน 
2 คน

2. เจ้าหน้าที่โต๊ะ (Table officials) 
จะมีผู้บันทึกคะแนนผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลา 24 วินาที

3. กรรมการเทคนิค (Commissioner) อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนนกับผู้จับเวลาแข่งขันมีหน้าที่ระหว่างเกมการแข่งขัน คือคอยชี้แนะเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่โต๊ะ 
รวมถึงผู้ตัดสินและผู้ช่วยสินผู้ตัดสิน เพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

4. เป็นการสุดวิสัย ที่จะกำหนดว่าผู้ตัดสินของแต่ละเกมการแข่งขันจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรที่ส่งทีม
เข้าร่วมแข่งขันในสนาม

5. ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือกรรมการเทคนิค จะควบคุมดูแลเกมการแข่งขันให้สอดคล้องกับกติกา ไม่มีอำนาจใด ๆ 
ที่จะตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา

6. ชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีเทากางเกงขายาวสีดำ รองเท้าบาสเกตบอลสีดำ และถุงเท่าสีดำ

7. สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญ ของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เจ้าหน้าที่โต๊ะควรจะแต่งกายให้เป็นแบบเดียวกัน


https://sites.google.com/site/phadapeet/discussion

รวมเทคนิคการเล่นบาสเกตบอล

 
        ทำอย่างไรให้ลอยตัวในอากาศได้นานและกระโดดได้สูง มี ขอแนะนำในสิ่งที่เหมาะกับสภาพนักกีฬาในบ้านเรานะครับวิธีง่ายๆก็คือ การวิ่งเพื่อความอดทนโดยวิ่งรอบสนามอย่างน้อย 4 รอบ(1,600 เมตร) อย่างน้อย ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงค่อยเพิ่มความเร็วโดยการวิ่งระยะสั้น สลับกับการวิ่งระยะยาว ต่อมาในเดือนที่ 2 เดือนที่ 3 ควรเน้นหนักในการฝึกการกระโดด ดังนี้ 
1.กระโดดข้ามกล่องกระดาษซึ่งมีความสูงประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต กระโดดเท้าคู่ไปทางด้านข้าง ซ้ายที ขวาที
2.กระโดดยกเข่าแตะอก
3.กระโดดยกส้นเท้าแตะก้น
4.กระโดดข้ามกล่องกระดาษ 4 กล่องซึ่งวางเรียงกัน โดยแต่ละกล่องห่างกัน 2 ฟุต กระโดดเท้าคู่ข้ามทีละกล่องอย่างต่อเนื่อง
5.กระโดดเอามือแตะขอบแป้นบาส
6.กระโดดอยู่กับที่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง พยายามเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เน้นการถีบตัวกระโดดให้สูงขึ้น
        แต่มีข้อแนะนำวิธีการกระโดด เพราะเห็นนักกีฬาจำนวนมากที่บาดเจ็บหัวเข่า เนื่องจากกระโดด ไม่ถูกวิธี โดยการกระโดดที่ถูกวิธีนั้นจะต้องย่อตัวทั้งก่อนกระโดด และหลังการกระโดดขึ้นไปแล้ว 
        เมื่อปลายเท้าแตะพื้นจะต้องย่อตัวพร้อมทั้งเหยียบพื้นเต็มเท้า ก่อนการกระโดดจะต้องย่อตัวลง (ย่อตัวนะครับไม่ใช้ก้มตัว) เขย่งส้นเท้าขึ้น จิกปลายเท้าให้แน่นแล้วถีบ ตัวขึ้นไป 
        เมื่อลงสู่พื้นก็ใช้ปลายเท้าลงจึงตามด้วยส้นเท้าแล้วย่อตัว อย่าใช้ส้นเท้าลงก่อนปลายเท้าเพราะจะทำให้น้ำหนักทั้งตัว ลงที่ส้นเท้าจะเจ็บส้นเท้าและอาจเป็นรอยช้ำ 
        เมื่อเหยียบพื้นเต็มเท้า ให้ทิ้งตัวย่อลงอย่ายืนตัวแข็ง เพราะจะทำให้หัวเข่ารับน้ำหนัก และบาดเจ็บที่หัวเข่าได เมื่อฝึกทุกอย่างแล้วให้สลับฝึกทุกวันเช่น วิ่งระยะยาว วิ่งเร็ว กระโดด ความคล่องตัว 
ทำเป็นประจำคุณก็จะสามารถกระโดดได้สูงและลอยตัวในอากาศ ได้นานกว่าเดิมแน่นอน

ทำอย่างไรจึงยืนป้องกันได้ดี  ?

        การยืนป้องกันจะต้องอยู่ ในท่าย่อตัวหรือท่าสมดุล ยืนเต็มฝ่าเท้า น้ำหนักอยู่กึ่งกลางฝ่าเท้าทั้งสองข้างและให้มี ความรู้สึกว่าน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่ก้นคล้ายกับว่าเรานั่งบนเก้าอี้ 
        เมื่ออยู่ในท่าย่อขณะป้องกันจะต้องมองไปที่ท้องของผู้ถือบอล ยืนห่างจากผู้ถือบอล 1 ช่วงแขน ห้ามมองที่ตาหรือบอลเด็ดขาด(เพราะอาจโดนหลอกเอาง่ายๆ) 
บอลจะเคลื่อนไปได้ด้วยมือโยกไปมา แต่ถ้าร่างกายเคลื่อนจะต้องมีการเคลื่อนไหวทั้งลำตัว ดังนั้นท้องจะต้องเคลื่อนไปด้วย ถ้าท้องเคลื่อนจึงค่อยเคลื่อนไปตามทิศทาง ที่ท้องเคลื่อนไป

ทำอย่างไรให้เลี้ยงบอลได้คล่อง ?
 
        สิ่งแรกที่จะทำให้เราเลี้ยงบอลคล่องแคล่วว่องไว จนกระทั่งสามารถหลบหลีกการป้องกันของคู่แข่งขัน คือ "การจัดลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง" 
ท่าทางที่ถูกต้องจะต้องอยู่ในท่าย่อตัว หรือถ้าจะพูดให้เกิดภาพที่ชัดเจนคือท่า "นั่งเก้าอี้" ถ้าถนัดมือขวาให้ใช้เท้าซ้ายอยู่เหนือเท้าขวา 
ช่องว่างระหว่างเท้ากว้างกว่าหัวไหล่ เท้าซ้ายคล่มบังบอลทำมุมประมาณ 45 องศา กับเท้าขวา (ทิศทางที่จะเลี้ยงไปถือว่าเป็นมุม 90 องศา กับลำตัวที่ยืนตรง เท้าซ้ายทำมุม 45 องศา กับด้านขวาของลำตัว) 
ในขณะที่หัวไหล่ทำมุมประมาณ 25 องศา ยกแขนซ่ายขึ้นในขณะที่เลี้ยงบอลช้าหรือขณะที่มีผู้ป้องกันจะเข้ามาแย่งบอล 
        เมื่ออยู่ในลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง ผู้ป้องกันจะไม่สามารถแย่งบอลได้ ถ้าผู้ป้องกันเข้ามาทางด้านขวามือ ผู้เลี้ยงจะหมุนตัวกลับเปลี่ยนทิศทางไปด้านซ้ายมือ 
โดยเปลี่ยนเลี้ยงบอลด้วยมือซ้ายและยกมือขวาขึ้นมาบังด้านหน้าไว้ ฝึกการเปลี่ยนทิศทางการพาบอล
เช่น เปลี่ยนจากขวาไปซ้ายด้านหน้า เปลี่ยนจากซ้ายไปขวาด้านหน้า เปลี่ยนโดยการหมุนตัว เปลี่ยนโดยารตวัดหลัง เปลี่ยนโดยลอดระหว่างขา
ฝึกเลี้ยงบอลทุกวันโดยการพยายามจับจังหวะการขึ้นลงของบอลให้มือควบคุมลูกบอลได้ตลอดเวลา เมื่อ ประมาทสั่งให้ทำอะไรมือก็ต้องทำได้เช่น
ให้ไปซ้ายมือก็ต้องพาบอลไปด้านซ้าย เป็นต้น อย่าลืมนะครับการที่จะเลี้ยงบอลคล่องต้องฝึกตามวิธีการที่ถูกต้องทุกวัน


https://sites.google.com/site/phadapeet/directory

กฏและกติกาบาสเกตบอล

   กฎเกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่าการชู้ต (หรือช็อต shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.25 เมตร (20 ฟุต 5 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า ฟรีโทรว์ (free throw) เมื่อฟาล์วมีค่าหนึ่งคะแนน

กติกาการเล่นบาสเกตบอล

        เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควาเตอร์ (quarter) แต่ละควาเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง) ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์ เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้ แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก


อุปกรณ์การเล่นบาสเกตบอล

        อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน การเล่นในระดับแข่งขันต้องใช้อุปกรณ์อื่น เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น



        ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (ุ600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 92 คูณ 49 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 94 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ ห่วงที่ทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม ในการแข่งขันเกือนทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3.05 เมตร) พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก

ข้อบังคับบาสเกตบอล

        ลูกสามารถเคลื่อน ที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก (โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง ภาษาอังกฤษเรียก ดริบบลิง, dribbling) ลูกจะต้องอยู่ใน สนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนามจะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า แทรเวลลิง, travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า ดับเบิล-ดริบบลิง, double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก (carrying) ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม (frontcourt) แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง (backcourt) อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่ ผู้เล่นจะต้องนำ ลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด (8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ) ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน 5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี ห้ามผู้เล่นรบกวน ห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก โกลเทนดิง (goaltending) ถ้าฝ่ายรับทำผิด จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล



ฟาล์ว

        การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบและไม่เป็น ธรรม ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น ฟาล์ว (foul) ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาล์วแต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาล์วได้เช่น เดียวกัน คนที่ถูกฟาล์วจะได้ส่งลูกจากข้างสนาม (inbound) เพื่อเล่นต่อ หรือได้ชู้ตลูกโทษ หรือ ฟรีโทร (free throw) ถ้าการฟาล์วเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูก การชู้ตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน ผู้เล่นจะได้ชู้ตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชู้ตตอนถูก ฟาล์วนั้นได้แต้มหรือไม่ เวลาชู้ตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร (15 ฟุต) การที่จะมีฟาล์วหรือไม่อยู่วิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่ ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาล์วของกรรมการ การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาล์วอาจแตกต่างกันในแต่ละเกม ลีก หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน ผู้เล่นหรือโค้ชซึ่งแสดงน้ำใจนักกีฬาที่แย่ เช่น เถียงกับกรรมการ หรือ ชกกับผู้เล่นอื่น อาจโดนเทคนิคัลฟาล์ว หรือ ฟาล์วเทคนิค (technical foul) ซึ่งถูกลงโทษโดยให้อีกทีมได้ชู้ตลูกโทษ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำก็อาจถูกไล่ออกจากสนามได้ ฟาล์วที่เกิดจากการเล่นที่รุนแรงเกินไป จะเรียกว่าฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา หรือ ฟาล์วรุนแรง (unsportsmanlike foul ในสากลหรือ flagrant foul ในเอ็นบีเอ) ก็จะได้รับโทษที่สูงขึ้นกว่าฟาล์วธรรมดา บางครั้งอาจถูกให้ออกจากสนามด้วย
ถ้าทีมทำฟาล์วเกินกว่าที่กำหนด (ในหนึ่งควาเตอร์ หรือ ในครึ่งเกม) ซึ่งก็คือ สี่ครั้งสำหรับกติกาสากลและเอ็นบีเอ ทีมตรงข้ามสามารถชู้ตลูกโทษสำหรับฟาล์วที่เกิดขึ้นครั้งต่อ ๆ ไปจากนั้นจนกว่าจะจบช่วง ไม่ว่าการฟาล์วจะเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูกหรือไม่ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าผู้เล่นฟาล์วรวมห้าครั้งนับเทคนิคัลฟาล์วด้วย (บางลีก รวมถือเอ็นบีเอ ยอมให้ฟาล์วได้หกครั้ง) ผู้เล่นนั้นไม่สามารถเล่นในเกมได้อีก เรียกว่าฟาล์วเอาท์ (foul out)

FIBA ได้กำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอลอย่างละเอียด ดังนี้
- แต่ละทีมมีผู้เล่นได้ 5 คน เปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ 2 คน 2 ครั้ง
- ภายหลังจากการทำคะแนนปกติหรือจากการโยนโทษ ให้เริ่มการแข่งขันด้วยลูกกระโดด ณ วงกลมกลาง
- มอบหมายให้ Technical Commission ประชุมตกลงเปลี่ยนแปลงกติกาทุก ๆ 4 ปี ภายในปีที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
พ.ศ. 2478 จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลชายชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ณ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ประเทศ ในครั้งนั้นทีมชนะเลิศ คือ ประเทศแลตเวีย (Latvia) ซึ่งชนะ ประเทศสเปน (Spain) ด้วยคะแนน 24 :18
- การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ กรุงออสโล (Oslo) และได้รับการบรรจุในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไป ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin) นับเป็นรายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรงของบาสเกตบอล และในการแข่งขันครั้งนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะเลิศ โดยชนะคู่ชิง ประเทศแคนาดา (Canada) ด้วยคะแนน 19:8 ผู้ให้เกียรติมอบเหรียญรางวัล คือ Dr.James Naismith
- FIBA จัดการประชุม ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin)โดยมีรายละเอียดดังนี้
+ ให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกันและฝ่ายรุก
+ จำกัดความสูงของผู้เล่น
+ ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
+ ยกเลิกการเล่นลูกกระโดดหลังจากเกิดทำคะแนนได้ ให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังแทน
+ แบ่งสนามเป็นสองส่วน
+ เริ่มใช้กติกาว่าด้วย 10 วินาทีในแดนหลัง
+ ฟาล์วบุคคลของผู้เล่นเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
พ.ศ. 2483 Dr.James Naismith ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ได้เสียชีวิต
พ.ศ. 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 , FIBA ได้ประชุม ณ กรุงลอนดอน (London) โดยมี รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
- เริ่มนำกติกาว่าด้วย 3 วินาที
- ห้ามผู้เล่นที่มีความสูงยืนใต้ห่วงประตู
- เพิ่มผู้เล่นสำรองจาก 5 คน เป็น 7 คน
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
- ให้ส่งบอลแทนการโยนโทษในช่วงเวลา 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน
- ให้ยกเท้าหลักได้ก่อนการยิงประตู ,ส่งบอล หรือเลี้ยงบอล
- ผู้เล่นชาวเอเชียเริ่มใช้วิธีการกระโดดยิงประตู
พ.ศ. 2492 จัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลอาชีพ NBA
พ.ศ. 2493 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศชายของโลก ณ ประเทศอาเจนตินา (Argentina)
พ.ศ. 2494 จัดการแข่งขัน NBA-ALL STAR เป็นครั้งแรก ณ กรุงบอสตัน (Boston) ในครั้งนั้นฝั่งตะวันออก ชนะ ฝั่งตะวันตก ด้วยคะแนน 111 : 94
พ.ศ. 2495 หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- เพิ่มฟาล์วบุคคลเป็น 5 ครั้ง (Foul-out)
- เกิดการแข่งขันที่น่าเบื่อ เนื่องจากทีมเล่นช้าลงมากโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ เกิดช่องว่างของการพัฒนาเกมการแข่งขัน
พ.ศ. 2496 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของโลก ณ ประเทศชิลี (Chile)
พ.ศ. 2497 Danny Biason เสนอแนะข้อสรุป และใน NBA เริ่มใช้กติกาใหม่ เพื่อให้เกมการ แข่งขันรวดเร็ว โดยให้ทีมครอบครองบอลต้องยิงประตู ภายใน 24 วินาที
พ.ศ. 2499 ในการแข่งขัน ณ กรุงเมลเบอร์น (Melbourne) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ฝ่ายรุกต้องยิงประตู ภายในเวลา 30 วินาที
- กำหนดเขตโยนโทษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณใต้ห่วงประตู
- FIBA Technical Commission ทบทวนความสมดุลและเสมอภาคของผู้เล่นฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกัน การยิงประตูยกเท้าหลักแล้วปล่อยบอลหลุดจากมือ และการเลี้ยงบอลต้องปล่อยบอลหลุดจากมือก่อนยกเท้าหลัก
- เกิดการกระโดดยิงประตูได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการยิงประตู , การส่งบอล และการเลี้ยงบอล
- เกิดยุทธวิธีกำบัง (Screen) การเล่นเต็มสนามของผู้เล่นทำให้ยากต่อการจัดการ
พ.ศ. 2501 จัดการแข่งขันชายชิงชนะเลิศชายของสโมสรยุโรป
พ.ศ. 2502 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของสโมสรยุโรป
พ.ศ. 2503 FIBA ประชุม ณ กรุงโรม (Rome) มีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดดังนี้
- 5 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เกิดการฟาล์วบุคคลจะลงโทษด้วยการโยนโทษ 2 ครั้ง
- กระทำฟาล์วแล้วยิงประตูเป็นผล ให้ยกเลิกคะแนน
- ทั้งสองทีมทำฟาล์วซึ่งกันและกัน และบทลงโทษเท่ากัน ให้ยกเลิกบทลงโทษของการโยนโทษ หากบทลงโทษไม่สามารถยกเลิกได้ ให้โยนโทษได้ไม่เกิน 2 ครั้งและครอบครองบอล
- การเปลี่ยนแปลงของบทลงโทษที่สลับซ้ำซ้อนทำให้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ยุ่ง ยากสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อต้องมีการนับการยกเลิกบทลงโทษ และจำนวนของการโยนโทษที่เหลือ ทำให้บางครั้งผู้ชมหรือผู้เล่นไม่เข้าใจและเกิดความสับสน
พ.ศ. 2507 เริ่มใช้ ช่วงการเล่น (Play Phase)
- FIBA ได้ประชุม ณ กรุงโตเกียว (Tokyo) ตกลงให้จัดทำหนังสือกติกาที่เข้าใจง่าย
- เกิดระบบของการรุก และมีการยิงประตูทำคะแนนได้เพิ่มขึ้น ความแข็งแกร่งของผู้เล่นมีความสำคัญ เนื่องจากกีฬาบาสเกตบอลค้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา
พ.ศ. 2515 หลังจากการแข่งขันโอลิมปิก ณ ประเทศเม็กซิโก (Mexico), FIBA ได้ กำหนดการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของกติกาดังนี้
- กำหนดหลักทรงกระบอกเหนือห่วงประตู ยกเลิกการห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตู เมื่อลูกบอลกระทบห่วงประตูผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถเล่นได้
- 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วจะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
- หากเกิดฟาล์วทีมให้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการโยนโทษ
FIBA มีการประชุม ณ กรุงมิวนิค (Munich) และได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิก 3 นาทีสุดท้าย ให้ใช้กับทุกนาทีในการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วผู้เล่นที่ไม่มีบอล ให้ส่งบอลเข้าเล่น
- การเปลี่ยนแปลงกติกาทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันสามารถละเมิดการฟาล์วเพื่อทำให้ ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่อยู่ในตำแหน่งยิงประตู
พ.ศ. 2516 การแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปยุโรป ณ กรุงบาร์เซโลนา (Barselona) การฟาล์วช่วงใหล้หมดเวลาการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟาล์วเฉลี่ยต่อเกมสูงถึง 61 ครั้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ FIBA ไม่สามารถรอจนถึงการประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งหน้า ดังนั้น FIBA จึงมีการประชุมและกำหนดตกลงดังนี้
- “หากแต่ละครึ่งเวลาทีมกระทำฟาล์วครบ10 ครั้ง จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง ” สำหรับการฟาล์วของทีมครอบครองบอลให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นข้าง
พ.ศ. 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การฟาล์วทีมครบ 10 ครั้ง
พ.ศ. 2519 ประชุม FIBA ณ กรุงมอลทรีออล (Montreal) มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้
- ให้มีการใช้กติกาว่าด้วยการฟาล์วทีม 10 ครั้ง บทลงโทษ โยนโทษ 2 ครั้ง
- ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วขณะกำลังยิงประตู บทลงโทษให้ได้โยนโทษใน 3 ครั้ง หากการยิงประตูธรรมดานั้นเป็นผล ให้นับคะแนนและได้โยนโทษ 1 ครั้ง
พ.ศ. 2523 ประชุม FIBA ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow) เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ลดจำนวนการฟาล์วทีมรวม เหลือ 8 ครั้ง
- ฟาล์วเทคนิคที่นั่งทีม และหากฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนครบ 3 ครั้ง ให้เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้ฝึกสอน
- ได้จัดทำเอกสารข้อแนะนำกติกาสำหรับวิธีการพิจารณาหลักการประทะโดยกำหนดผู้ เล่นใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการปะทะนั้น ( ใช้หลักของแนวดิ่ง หมายถึง ช่องว่างเหนือผู้เล่นที่เป็นรูปทรงกระบอก โดยผู้เล่นที่ลอยตัวในอากาศอย่างถูกต้องจะลงสู่พื้นตำแหน่งเดิมก่อนการ กระโดด และการป้องกันอย่างถูกต้องนั้นเป็นลักษณะใด รวมถึงการพิจารณาการสกัดกั้น )
พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
- เริ่มใช้การยิงประตู 3 คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู 3 คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็กสามารถทำคะแนนได้
- ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
- ฟาล์วทีมรวมลดลงเหลือ 7 ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
- ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิง ประตู 2 ใน 3 ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู 2 คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ 2 ครั้ง หากพยายามยิงประตู 3 คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ 3 ครั้ง)
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ให้มีการฟาล์วเจตนาและฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ 2 หรือ 3 ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาล์วซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน
พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase) ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
- กำหนดเขตที่นั่งทีม
- หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาล์ว เทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาล์วเสียสิทธิ์ทันที
- ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
- ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
- ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้โยนโทษ
- ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน
พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุง บาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team’ ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก
พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติการ ดังนี้
- กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4x12 นาที
- การส่งบอลเข้าเบ่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
- ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตูจนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
- สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาเหน็จห่วงได้
- เปลี่ยน ‘ฟาล์วเจตนา’ เป็น ‘ฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา’
- ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1’ ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ 2 ครั้ง แทน
- หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
- จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ ไม่เกิน 6 คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ 3 คน)
พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
- ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)’
- เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี’ ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 3 ครั้ง
- 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเงลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
- ผู้เล่นผ่ายรุกปละฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลการะทบกระดานหลังจากการยิงประตู
- บทลงโทษของการฟาล์วคู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาล์วคู่ ยังคงได้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
- ใช้ ‘ ฟาล์วเทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ’ ให้โยนโทษ 2 ครั้งและครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
- ฟาล์วทีมรวมเหลือ 4 ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ 2 นาที พักการแข่งขัน period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
- ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ 1 ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ 4 ได้ 2 ครั้ง
- ให้เวลานอก 1 นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
- เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วง ประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
- ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ 8 วินาที
- ช่วง 2 นาทีสุดท้ายของ period ที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
- FIFA จะใช้ระบบการตัดสิน 3 คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
- สำหรับระบบการตัดสินใจ 3 คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแลัวและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ 1 ครั้ง และครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น
พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เดกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
- ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินใน สนาม, ระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม
เมื่อสิ้นทศวรรตที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ


https://sites.google.com/site/phadapeet/calendar

10 อันดับนักบาสที่เก่งที่สุด

1.ดเวน เหว็ด (การ์ด : ไมอามี ฮีท)














ข้อมูลส่วนตัว 


ชื่อ : ดเวน เหว็ด 
วันเกิด : 17 มกราคม 1982 (อายุ 26 ปี)
สัญชาติ : อเมริกัน
ส่วนสูง : 6 ฟุต 4 นิ้ว (1.93 เมตร)
น้ำหนัก : 216 ปอนด์ (98 กิโลกรัม)
ลีกอาชีพ : เอ็นบีเอ
ทีมปัจจุบัน : ไมอามี่ ฮีท
เบอร์เสื้อ : 3
เล่นอาชีพ : ปี 2003-ปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา
ดเวน เหว็ด (Dwyane Wade) หรือชื่อเต็ม ดเวน ไทโรน เหว็ด จูเนียร์ (Dwyane Tyrone Wade, Jr.) เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม 1982 เป็นนักบาสเกตบอลชาวอเมริกันชื่อดังที่เล่นในลีกเอ็นบีเอ (NBA) มีฉายาว่า แฟลช (Flash) และ ดี-เหว็ด (D-Wade) ปัจจุบันเล่นอาชีพอยู่กับทีม ไมอามี ฮีท โดยเขาเคยได้รับนักกีฬายอดเยี่ยม จาก Sports Illustrated ซึ่งเป็นนิยสารกีฬาชื่อดังของสหรัฐฯ และ ผู้เล่นทรงคุณค่าของเอ็นบีเอรอบไฟนอล ในปี 2006 (NBA Finals MVP) อีกด้วย
เหว็ด ก้าวเข้าสู่วงการบาสเกตบอลเอ็นบีเอจากการดราฟฟ์เป็นอันดับ 5 ในปี 2003 และเขาก็สามารถสร้างชื่อให้กับตัวเองจนกลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่ประสบความสำเร็จมาที่สุดคนหนึ่งในศึกยัดห่วงเอ็นบีเอ็นทุกวันนี้ โดยเขามีชื่อติดทีมดาวรุ่งประจำฤดูกาลในซีซั่นแรกของตัวเอง รวมถึงติดทีม ออล-สตาร์ ในปีถัดมาอีกด้วย นอกจากนี้ เหว็ด ยังมีส่วนสำคัญที่นำทีม ไมอามี ฮีท คว้าแชมป์เอ็นบีเอ ได้สำเร็จในประวัติศาสตร์ หลังจากเล่นให้กับทีมเป็นฤดูกาลที่ 3 (ปี 2006) ด้วยการเอาชนะ ดัลลัส มาเวอริคส์ มาได้ในเกมรอบชิงชนะเลิศ

ตำแหน่งการเล่น
เหว็ด เล่นในตำแหน่งชู้ตติ้งการ์ด แต่เขาก็สามารถเล่นในตำแหน่ง พอนต์ การ์ด ได้เช่นกัน ในเกมรุก เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีความเร็วและยากที่จะป้องกันมากที่สุดในเอ็นบีเอ นอกจากนี้ เขายังแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นผู้เล่นที่ไม่เห็นแก่ตัวอีกด้วย โดยเขามีเปอร์เซ็นต์การแอสซิสเฉลี่ย 6.4 ครั้งต่อเกม ตลอดอาชีพนักยัดห่วง และหลังจาก เหว็ด ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าประจำเกมนัดชิงชนะเลิศ ปี 2006 เขาก็พัฒนาฝีมือการเล่นจนเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่น่าจับตามองมากที่สุดในวงการเอ็นบีเอ
เดวิด ธอร์ป เทรนเนอร์ ซึ่งทำงานให้กับศูนย์การฝึกซ้อมของผู้เล่นเอ็นบีเอ ช่วงปิดฤดูกาล กล่าวชื่อชมพัฒนาการของ เหว็ด ว่า เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่มีความแข็งแกร่ง สามารถเคลื่อนไหว และมีจังหวะการกระโดดชู้ตได้ดี นอกจากนี้ เขายังมีทีเด็ดอยู่ที่การเลย์-อัพที่เขาสามารถเบียดชนกับคู่ต่อสู้ที่ใหญ่กว่าขณะอยู่กลางอากาศได้ดี อย่างไรก็ตาม จุดด้อยของ เหว็ด คือ ความความพยายามในการชู้ต 3 คะแนน ที่ยังมีสถิติที่น้อยอยู่ เฉลี่ยที่ 0.251 เกมตลอดอาชีพของเขาที่ผ่านมา




รางวัลที่ได้รับ


แชมป์เอ็นบีเอ กับทีมไมอามี ฮีท: ปี 2006 

รางวัลเอ็มวีพีรอบไฟนอล: ปี 2006 
ได้รับเลือกเล่นในเกมออลสตาร์: ปี 2005, 2006, 2007,2008
ได้รับเลือกอยู่่ในทีมรวมออลสตาร์: ทีมที่ 2 (2005,2006), ทีมที่ 3 (2007)
ทีมรวมเกมรับ: ทีมที่ 2 (2005)
ได้รับเลือกอยู่ในทีมดาวรุ่งของเอ็นบีเอ: 2004
ได้รับเลือกอยู่ในทีมรวมออลสตาร์สกิลชาลเล้นจ์ แชมเปี้ยน: 2006, 2007
เหรียญทองแดงในกีฬาโอลิมปิก กับทีมชาติสหรัฐ ที่เอเธนส์ ประเทศกรีซ ปี 2004 
เหรียญทองแดงในฟีบาเวิร์ลแชมเปียนชิพ กับทีมชาติสหรัฐ ปี 2006
คว้าแชมป์ออลสตาร์สกิลชาลเล้นจ์ แชมเปี้ยน

2. เลบรอน เจมส์ (การ์ด : คลีฟแลนด์ แคฟวาเลียร์ส)





ตำแหน่งสมอลฟอร์เวิร์ด
ฉายาKing James, The Heir Apparent, LBJ, The Chosen One
ความสูงฟุต 9 นิ้ว (2.07 )
น้ำหนัก240 ปอนด์ (109 กก.)
ทีมไมอามี ฮีต
สัญชาติFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
วันเกิด30 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (27 ปี)
อะครอน รัฐโอไฮโอ
ไฮสคูลSt. Vincent - St. Mary HS
Akron, Ohio
ดราฟท์ลำดับที่ 1, 2003
คลีฟแลนด์ คาวาเลียส์
เล่นระดับอาชีพ2003–ปัจจุบัน
รางวัล2003 Naismith Prep Player of the Year
2004 Rookie of the Year
2004 ESPY Best Breakthrough Athlete
ผู้เล่นทรงคุณค่าเกมรวมดาราเอ็นบีเอ 2006
เกมรวมดาราเอ็นบีเอ 3 ครั้ง
ได้เลือกเป็นออล-เอ็นบีเอ 2 ครั้ง
2005-06 The Sporting News NBA co-MVP




เจมส์ ถูกคัดเลือกเป็นคนแรกในดราฟปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) โดยทีมคลีฟแลนด์ คาวาเลียส์ เขาได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างมากถึงกับได้เซ็นสัญญารองเท้ากับไนกี (Nike) มูลค่า 90 ล้านเหรียญสหรัฐก่อนที่จะเล่นในเอ็นบีเอเกมแรกด้วยซ้ำ และเขาก็ไม่ทำให้แฟนผิดหวังเมื่อทำได้เฉลี่ยตลอดฤดูกาล 20.9 แต้ม 5.4 รีบาวด์ 5.9 แอสซิสต์ และได้รับรางวัลผู้เล่นใหม่ยอดเยี่ยม (Rookie of the Year) แต่ทีมก็ไม่ได้เข้าเล่นในเพลย์ออฟ
เลอบรอน เจมส์ เป็นเพื่อนสนิทกับ CARMELO ANTHONY จากทีม DENVER NUGGATS และ DWYANE WADE จากทีม MIAMA HEAT ปี พ.ศ. 2546 ช่วงหมดฤดูกาลเขาเข้าร่วมเล่นในทีมโอลิมปิกของสหรัฐอเมริกาที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ จากทักษะที่ได้เรียนรู้ในฤดูกาลต่อมาเจมส์เป็นคนแรกที่ทำ 10 คะแนน 10 รีบาวด์ และ 10 แอสซิสต์ (หรือ ทริปเปิล-ดับเบิล) ในเกมที่อายุน้อยที่สุด และทำคะแนน 50 แต้มในเกมเดียวที่อายุน้อยที่สุดอีกด้วย แต่ทีมคาวาเลียส์ก็ยังเข้ารอบเพลย์ออฟไม่ได้
ในฤดูกาล 2005-06 คาวาเลียส์ได้ผู้เล่นใหม่มาเสริมทีมอาทิเช่น ลาร์รี ฮิวส์ (Larry Hughes) แฟนและนักข่าวต่างหวังว่าเจมส์จะสามารถนำทีมเข้าเพลย์ออฟได้ในปีนี้
ในฤดูกาล 2009-10ทีมคาวาเลียส์มีลุ้นได้แชมป์NBA PLAYOFF 2010 ซึ่งมีตัวเก่งอย่าง FORWARDดาวรุ่ง เจเจฮิกสัน PG mo wililem แต่สุดท้ายก็แพ้ให้กับคู่ปรับร่วมสายอย่าง บอสตันเซลติก
ฤดูกาล 2010- 2011 เลอบรอน เจมส์ หมดสัญญากับทีมคลีฟแลนด์ คาวาเลียส์ และได้เซ็นสัญญา 6 ปีกับทีม Miami Heat เช่นเดียวกับ Dwyane Wade และ Chris Bosh


3. โคบี้ ไบรอันท์ (การ์ด : แอลเอ เลเกอร์ส)



  





ตำแหน่งชู้ตติ้งการ์ด
ฉายาBlack Mamba
ความสูงฟุต 6 นิ้ว (1.98 )
น้ำหนัก216 ปอนด์ (98 กก.)
สัญชาติFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
วันเกิด23 สิงหาคม พ.ศ. 2521 (33 ปี)
ฟิลาเดลเฟียรัฐเพนซิลเวเนีย
มหาวิทยาลัยLower Merion HS
ดราฟท์ลำดับที่ 13, 1996
ทีมที่เคยเล่น
เล่นระดับอาชีพ1996–ปัจจุบัน
ทีมที่เคยเล่นลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ 1996-ปัจจุบัน
รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าเอ็นบีเอ (2008)
ผู้เล่นทรงคุณค่าเอ็นบีเอรอบไฟนอล (2009)
ผู้เล่นตำแหน่งการ์ดคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับเลือกเข้าสู่ NBA ตั้งแต่จบมัธยมปลาย ไบรอันต์ได้รับเลือกเป็นอันดับที่ 13 จากการดร๊าฟรอบแรกโดยทีม Charlotte Hornets ในปี 1996 อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของไบรอันต์ในขณะนั้นเห็นว่าโคบี้ไม่ควรจะเล่นให้กับทีมชาร์ล็อตต์ และชาร์ล็อตต์เองก็คิดที่จะแลกเปลี่ยนตัวผู้เล่นกับทีมเลเกอร์สอยู่แล้ว ก่อนหน้าการดร้าฟตัวผู้เล่นนั้น โคบี้มีโอกาสได้ร่วมฝึกซ้อมกับทีมในลอสแอนเจลิส ซึ่งเขาได้ต่อกรในสนามกับอดีตผู้เล่นของเลเกอร์ส คือ Larry Drew และ Michael Cooper จนสะดุดตา Jerry West ผู้จัดการทีมในขณะนั้น ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี 1996 West ตัดสินใจแลกตัวผู้เล่นเซ็นเตอร์ตัวจริงของทีมเลเกอร์ส คือ Vlade Divac ไปให้ทีมฮอร์เน็ตส์ เพื่อแลกกับสิทธิ์ในการดร้าฟตัวไบรอันท์ และเนื่องจากโคบี้เพิ่งอายุได้ 17 ปี พ่อแม่ของเขาต้องร่วมเซ็นสัญญากับเลเกอร์ส จนกระทั่งโคบี้สามารถเซ็นสัญญาเองได้เมื่ออายุครบ 18 ปี ก่อนจะเปิดฤดูกาล 



4.
 เดิร์ค โนวิตซกี้ (ฟอร์เวิร์ด : ดัลลัส แมฟเวอริกส์)






หลายคนอาจจะรู้จักผู้เล่นรายนี้ดี ขณะที่บางคนอาจจะเคยได้ยินชื่อทางช่องข่าวกีฬาชื่อดังมาบ่อยครั้ง แต่ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่รู้ว่า เดิร์ก โนวิทซกี้ เจ้าของฉายา " มิสเตอร์ เพอร์เฟ็ค "  คือใคร? วันนีผมจะมาแนะนำผู้เล่นรายนี้ที่โดดเด่นเหลือเกินกับการพา ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ โค่นทีมเต็งหนึ่งในการคว้าแชมป์ NBA อย่าง ไมอามี่ ฮีต ด้วยฟอร์มที่สุดยอดซิวแหวนแชมป์มาประดับนิ้วได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของทั้งสโมสรและเจ้าตัวเอง
      เดิร์ก โนวิทซกี้ เจ้าของส่วนสูง 7 ฟุต ( ประมาณ 210 ซม. ) เล่นตำแหน่งเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ดและเซ็นเตอร์ เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1978 ที่เมือง เวอร์ซบูร์ก ประเทศเยอรมนี เจ้าตัวเริ่มเล่นบาสอาชีพมาตั้งแต่ปี 1994 ที่ยุโรป และถูกดร๊าฟมาเล่นในเอ็นบีเอครั้งแรกในปี 1998 โดยถูกเลือกเป็นอันดับ 9 ในรอบแรกจากทีม มิลว็อคกี้ บัคส์ แต่ก็โดนเทรดไปให้ทีม ดัลลัส ต้นสังกัดปัจจุบันทีมที่ต้องการตัวเขาอย่างแท้จริง
      ฟอร์เวิร์ดเยอรมันคนนี้เป็นผู้เล่นตัวใหญ่เล่นได้ทั้งใต้แป้นและวงนอก ความแม่นถือเป็นเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเสื้อเบอร์ 41  เดิร์ก ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ครบเครื่องที่สุดจนได้รับการตั้งฉายาว่า " มิสเตอร์ เพอร์เฟ็ค " เขากวาดรางวัลส่วนตัวมาแล้วมากมาย ที่สำคัญคือการได้รับเลือกเป็นผู้เล่นออลสตาร์ 10 สมัยซ้อน , แชมป์ยิงสามแต้มในปี 2006 , ผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) ของฟีบาในรายการบาสชิงแชมป์โลกปี 2002 , ผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) ในรายการยูโรลีกปี 2005 และที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการคว้า MVP ของฤดูกาลปกติในศึกเอ็นบีเอ ลีกที่ได้รับการยอมรับว่าแข็งแกร่งที่สุดในโลกมาครองในปี 2007 และ MVP ในรอบชิงฯฤดูกาล 2010/ 2011
      
       ปัจจุบัน เดิร์ก อายุ 33 ปีถือเป็นซูเปอร์สตาร์เบอร์ต้นๆของโลกบาสเก็ตบอล ปัจจุบันรับค่าเหนื่อย 19 ล้านเหรียญต่อปี มีดีกรีความสำเร็จส่วนตัวเทียบเท่า เควิน การ์เน็ตต์ ของ บอสตัน , ทิม ดันแค็น ของ สเปอร์ส , สตีฟ แนช ของ ซันส์ และ โคบี้ ไบรอันท์ ของ แอลเอ เลเกอร์ส
       เดิร์ก โนวิทซกี้  เป็นที่รักของแฟนๆเมือง ดัลลัส มากและเมื่อเจ้าตัวมีบทบาทสำคัญในการพาทีมคว้าแชมป์เอ็นบีเอมาครองได้เป็นสมัยแรกทั้งๆที่มีอาการบาดเจ็บที่ข้อนิ้วซึ่งเป็นที่มาของอีก 1 ฉายา " เดิร์ก 9 นิ้ว " และ อาการป่วยรบกวนในรอบชิงฯ ก็ยิ่งทำให้เจ้าตัวกลายเป็นตำนานแห่งเมือง ดัลลัส ไปอีกคนอย่างไม่ต้องสงสัย

5.
 สตีฟ แนช (การ์ด : ฟีนิกซ์ ซันส์)




สตีฟ แนช พอยท์การ์ดดีกรีออลสตาร์ ของ ฟินิกซ์ ซันส์ ส่งถ้อยแถลงยืนยันว่า เขาเตรียมแยกทางกับ ซันส์ หลังจากคุยกับเจ้าของทีมแล้ว โดยมี ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส รอปูพรมแดงรับตัว ด้วยสัญญาตามข่าว 3 ปี มูลค่าร่วม 27 ล้านดอลล่าร์ (ราว 810 ล้านบาท)

สตีฟ แนช พอยท์การ์ดจอมเก๋าชาวแคนาเดี้ยน ของ ฟินิกซ์ ซันส์ ทีมในศึกยัดห่วงเอ็นบีเอ สหรัฐฯ ออกถ้อยแถลงยืนยันการแยกทางกับต้นสังกัดที่อยู่ร่วมหัวจมท้ายกันมานาน 8 ปี และเผยความปรารถนาว่า ต้องการเทรดไปยัง ลอสแอนเจลิส เลเกอร์ส ทีมที่มี โคบี้ ไบรอันท์ เป็นซูเปอร์สตาร์ ซึ่งข่าวระบุ แนช จะเซ็นสัญญาระยะเวลา 3 ปี มูลค่ากว่า 27 ล้านดอลล่าร์ (ราว 810 ล้านบาท)     
 
แนช เป็นผู้เล่นฟรีเอเยนต์ และมีแววแล้วว่าเขาได้เลือก เลเกอร์ส โดยการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการจะต้องรอวันที่ 11 ก.ค. เสียก่อน แต่ก็มีกระแสข่าวระบุถึงเนื้อหารายละเอียดของสัญญานี้แล้ว คือ ระยะเวลา 3 ปี มูลค่าเกือบ 27 ล้านดอลล่าร์ โดยจะเป็นการเซ็นสัญญาแล้วเทรดจาก ซันส์ ซึ่งทาง เลเกอร์ส จะส่งสิทธิดราฟท์ 4 ครั้งให้ ซันส์ เป็นการแลกเปลี่ยน แบ่งเป็นดราฟท์รอบแรกปี 2013, 2015 และ ดราฟท์รอบสองปี 2014 และ 2015
 
การ์ดขวัญใจแฟนยัดห่วง วัย 38 ปี บอกว่า เขาตัดสินใจหลังจากได้คุยกับ โรเบิร์ต ซาร์เวอร์ เจ้าของทีมซันส์ และ ลอน แบ็บบี้ ประธานฝ่ายบาสเกตบอล แล้ว "หลังจากได้คุยกับ โรเบิร์ต กับ ลอน แล้ว เรามีความเห็นตรงกันว่า ถึงเวลาที่เราทั้งสองฝ่ายจะต้องเดินไปยังทิศทางใหม่ๆ ผมติดต่อพวกเขา และถามพวกเขาไปว่า ยินดีทำข้อตกลง - เซ็นสัญญาแล้วเทรด - กับทาง แอลเอ หรือไม่ ผมรู้สึกซาบซึ้งบุญคุณขององค์กร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรเบิร์ต อย่างที่สุด"
 
อดีตผู้เล่นเอ็มวีพี 2 สมัย (2005, 2006) พา ซันส์ เข้าถึงรอบชิงแชมป์สายตะวันตก ได้ถึง 3 ครั้ง (ใน 8 ปีของเขา) แต่ไม่ได้ผ่านเข้ารอบเพลย์ออฟ ตลอด 2 ซีซั่นที่ผ่านมา โดยซีซั่นที่แล้ว เขาทำผลงานเฉลี่ย 12.5 แต้ม และ 10.7 แอสซิสต์ แถมมีเปอร์เซนต์ชู้ตลงสูงถึง 53 เปอร์เซ็นต์ และการเป็นฟรีเอเยนต์ทำให้เขาเนื้อหอม มีทีมดังๆ รุมตอมเพียบ ทั้ง นิวยอร์ก นิกส์, ดัลลัส แมฟเวอร์ริกส์ และ โตรอนโต้ แร็พเตอร์ส 



6.
 ทิม ดันแค่น (ฟอร์เวิร์ด : ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส)



 ทิม ดันแคน ฟอร์เวิร์ดตัวเก๋า ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส เชื่อจะอาศัยความเก๋าบุกไปเอาตัวรอดจากเงื้อมือ โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ ในเกม 6 เพลย์ออฟฝั่งตะวันตก เช้าวันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายนนี้ เพื่อต่ออายุอยู่ในเส้นทางลุ้นแชมป์ศึกบาสเกตบอล เอ็นบีเอ (NBA) ฤดูกาล 2011/12 ต่อไป
       
        ซานอันโตนิโอ สเปอร์ส อยู่ในสถานการณ์หลังพิงฝา ตามซีรีส์รอบชิงเวสต์เทิร์น คอนเฟอเรนซ์ 2-3 เกม หลังโดน โอกลาโฮมา ซิตี ธันเดอร์ รัวคืนสามเกมติด พร้อมกับหยุดสถิติลูกทีม เกร็ก โพโพวิช ที่เดินหน้าคว้าชัยเป็นสถิติ NBA 20 เกมติดต่อกัน โดยเกมที่ 6 จะมีขึ้นที่เอเนอร์จี อารีนา คืนวันพุธที่จะถึงนี้ตามวัน-เวลาท้องถิ่น
       
        ซึ่ง ทิม ดันแคน พยายามกระตุ้นเพื่อนร่วมทีมสเปอร์ส ก่อนเกมตัดสินอนาคตว่า “ผมพร้อมลงสนามแล้ว ณ บัดนี้ ผมเชื่อว่า เราสามารถคว้าชัยชนะได้ เชื่อว่า ทีมจะเดินหน้าไปในสิ่งที่ถูกที่ควร มีทัศนคติในการบุกเอาชนะนอกบ้าน โดยเราเคยอยู่ในสถานการณ์แบบนี้มาก่อน ผมคิดว่ามันน่าเสียใจและคงผิดหวังกันมากหากเราจบลงด้วยความพ่ายแพ้ ทั้งนี้ มันน่าตื่นเต้นที่จะได้ออกไปลุยกับพวกนั้น (โอเคซี) อีกครั้ง”
       
        ด้าน สตีเฟน แจ็คสัน หนึ่งในตัวเก๋าที่เคยเป็นหนึ่งในขุนพลสเปอร์ส ชุดแชมป์เมื่อปี 2003 เผยบ้าง “ผมสามารถลงช่วยทีมได้ตลอดทั้งเกม ก่อนมาที่นี่ (แจ็คสัน เพิ่งย้ายมาจาก มิลวอล์คกี บัคส์ สู่ถิ่นเก่าอีกครั้ง) ผมเป็นพวกตัวทีเด็ดช่วงท้ายๆ คุณรู้ว่าผมสามารถทำอะไรได้ เราจะลงไปชนะเกมนี้กัน อย่างไรก็ตาม พวกนั้น (โอเคซี) เป็นทีมหนุ่มที่ยอดเยี่ยม ซึ่งเราคงต้องออกไปเล่นกันให้ดี”




7. อัลเลน ไอเวอร์สัน (การ์ด : ฟิลาเดลเฟีย เซเวนตี้ซิกเซอร์ส) 






ตำแหน่งชู้ตติ้งการ์ดพอยท์การ์ด
ฉายาเอ.ไอ., ดิแอนเซอร์
ความสูงฟุต 0 นิ้ว (1.83 )
น้ำหนัก165 ปอนด์ (75 กก.)
ทีมเดนเวอร์ นักเก็ตส์
สัญชาติFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
วันเกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2518 (37 ปี)
แฮมป์ตัน รัฐเวอร์จิเนีย
มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์
ดราฟท์ลำดับที่ 1, 1996
ฟิลลาเดลเฟีย เซเว่นตี้ซิกเซอรส์
เล่นระดับอาชีพ1996 –ปัจจุบัน
ทีมที่เคยเล่นฟิลลาเดลเฟีย เซเว่นตี้ซิกเซอรส์ (1996-2006)
รางวัล

  • Big East Rookie Of The Year - NCAA
  • Big East Defensive Player Of The Year - NCAA (1996)
  • NBA Rookie of the Year(1997)
  • All-Star Rookie Game Most Valuable Player(1997)
  • ได้รับเลือกเป็น All Rookie First Team (1997)
  • รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าเอ็นบีเอ (2001)
  • รางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าเอ็นบีเอเกมรวมดารา (2001, 2005)
  • แชมป์ทำคะแนนในเอ็นบีเอ 4 สมัย
  • ได้รับเลือกเป็น All NBA First Team 3 ครั้ง
  • ได้รับเลือกเป็น All NBA Second Team 3 ครั้ง
  • แชมป์สตีลเอ็นบีเอ 3 สมัย
  • เล่นเกมรวมดารา 9 ครั้ง (ไม่ได้เล่นหนึ่งครั้งเนื่องจากบาดเจ็บ)
  • กับตันทีมชาติบาสเกตบอลสหรัฐอเมริกา (2004)



8.
 เควิน การ์เน็ตต์ (ฟอร์เวิร์ด : มินเเบอร์วูล์ฟส)




ตำแหน่งเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด
ฉายาเดอบิกทิกเก็ต, เดอคิด, เคจี
ความสูงฟุต 11 นิ้ว (2.11 )
น้ำหนัก253 ปอนด์ (115 กก.)
ทีมบอสตัน เซลติกส์
สัญชาติFlag of the United States สหรัฐอเมริกา
วันเกิด19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 (36 ปี)
มอลดิน รัฐเซาท์แคโรไลนา
ดราฟท์ลำดับที่ 5, 1995
มินนิโซตา ทิมเบอร์วูฟส์
เล่นระดับอาชีพ1995–ปัจจุบัน
ทีมที่เคยเล่นมินนิโซตา ทิมเบอร์วูฟส์ 1995-2007
รางวัล2003-04 ผู้เล่นทรงคุณค่าเอ็นบีเอ
เหรียญทอง โอลิมปิก 2000
2003 ผู้เล่นทรงคุณค่าในเกมรวมดาราเอ็นบีเอ

ผลงาน


  • แชมป์เอ็นบีเอ พ.ศ. 2551
  • ผู้เล่นทรงคุณค่าในเอ็นบีเอ ปี พ.ศ. 2547
  • ผู้เล่นทีมรับแห่งปี พ.ศ. 2551
  • เหรียญทองโอลิมปิก พ.ศ. 2543
  • เล่นในเกมออลสตาร์ ปี พ.ศ. 2540, 2541, 2543, 2544, 2545, 2546, 2547, 2548, 2549, 2550, 2551 (ไม่มีการจัดเกมออลสตาร์ในปี พ.ศ. 2542)
  • ผู้เล่นทรงคุณค่าในเกมออลสตาร์ ปี พ.ศ. 2546
  • ได้รับเลือกเป็น ออล-เอ็นบีเอ
    • ทีมแรก 2543, 2546, 2547, 2551
    • ทีมที่สอง 2544, 2545, 2548
    • ทีมที่สาม 2542, 2550
  • ได้รับเลือกเป็น All-Defensive
    • ทีมแรก 2543, 2544, 2545, 2546, 2547, 2548, 2551
    • ทีมที่สอง 2549, 2550
  • ได้รับเลือกเป็น All-Rookie ทีมที่สอง 2539
  • ทำรีบาวด์เฉลี่ยต่อเกมสูงสุดในเอ็นบีเอในฤดูกาลปกติ 2547 (13.9 รีบาวด์ต่อเกม), 2548 (13.5 รีบาวด์ต่อเกม), 2549 (12.7 รีบาวด์ต่อเกม), 2550 (12.8 รีบาวด์ต่อเกม)
  • ทำรีบาวด์รวมสูงสุดในเอ็นบีเอ 2547 (1139 รีบาวด์), 2548 (1108 รีบาวด์)
  • ทำคะแนนรวมสูงสุดในเอ็นบีเอ 2547 (1987 คะแนน)
  • ผู้เล่นคนแรกในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอที่
    • เฉลี่ยอย่างน้อย 20 คะแนน 10 รีบาวด์ 5 แอสซิสต์ ต่อเกม ติดต่อกัน 6 ฤดูกาล (1999-2005)
    • เฉลี่ยอย่างน้อย 20 คะแนน 10 รีบาวด์ 4 แอสซิสต์ ต่อเกม ติดต่อกัน 9 ฤดูกาล (1998-2007)
    • ได้อย่างน้อย 20,000 คะแนน 11,000 รีบาวด์ 4,000 แอสซิสต์ 1,200 สตีล 1,500 บล็อกตลอดการเล่นอาชีพ


9.
 กิลเบิร์ต อารีนาส (การ์ด : วอชิงตัน วิซาร์ดส)






กิลเบิร์ต อารีนาส ติดท็อปไฟฟ์ในหลายๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการทำแต้ม การขโมยบอล เปอร์เซ็นต์ชู้ตลูกโทษ หรือว่าเวลาเฉลี่ยในการลงสนาม อารีนาส ขับเคี่ยวกับ เลบรอน เจมส์ ได้อย่างน่าดูชม เขามีแรงจูงใจในการเล่นกีฬา และเมื่อไหร่ก็ตามที่ติดเครื่องก็พร้อมจะทำแต้มใส่คู่แข่งเป็นชุดๆ

10.
 คาร์เมโล่ แอนโธนี่ย์ (ฟอร์เวิร์ด : เดนเวอร์ นักเก็ตส์)





ดูเหมือนว่า เมโล่ จะดีกว่าเมื่อฤดูกาลก่อน เขาดีขึ้นแน่นอนในฤดูกาล 2006/07 ด้วยความเฉียบขาด คาร์เมโล่ แอนโธนี่ย์ น่าจะเล่นเกมรุกมากกว่าที่ผ่านๆ มา ครั้งหนึ่ง “โค้ชเค” ไมค์ ครายเซว์สกี้ หัวหน้าโค้ชทีมชาติสหรัฐอเมริกา ยังเอ่ยปากว่าทีมขาดนักบาสเกตบอลคนนี้ไม่ได้เหมือนกัน



http://mtinee.blogspot.com/p/10.html