วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2560

กฏและกติกาบาสเกตบอล

   กฎเกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่าการชู้ต (หรือช็อต shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.25 เมตร (20 ฟุต 5 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า ฟรีโทรว์ (free throw) เมื่อฟาล์วมีค่าหนึ่งคะแนน

กติกาการเล่นบาสเกตบอล

        เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควาเตอร์ (quarter) แต่ละควาเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง) ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์ เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้ แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก


อุปกรณ์การเล่นบาสเกตบอล

        อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน การเล่นในระดับแข่งขันต้องใช้อุปกรณ์อื่น เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น



        ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (ุ600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 92 คูณ 49 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 94 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้ ห่วงที่ทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม ในการแข่งขันเกือนทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3.05 เมตร) พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก

ข้อบังคับบาสเกตบอล

        ลูกสามารถเคลื่อน ที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก (โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง ภาษาอังกฤษเรียก ดริบบลิง, dribbling) ลูกจะต้องอยู่ใน สนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนามจะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า แทรเวลลิง, travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า ดับเบิล-ดริบบลิง, double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก (carrying) ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม (frontcourt) แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง (backcourt) อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่ ผู้เล่นจะต้องนำ ลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด (8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ) ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน 5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี ห้ามผู้เล่นรบกวน ห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก โกลเทนดิง (goaltending) ถ้าฝ่ายรับทำผิด จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล



ฟาล์ว

        การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบและไม่เป็น ธรรม ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น ฟาล์ว (foul) ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาล์วแต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาล์วได้เช่น เดียวกัน คนที่ถูกฟาล์วจะได้ส่งลูกจากข้างสนาม (inbound) เพื่อเล่นต่อ หรือได้ชู้ตลูกโทษ หรือ ฟรีโทร (free throw) ถ้าการฟาล์วเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูก การชู้ตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน ผู้เล่นจะได้ชู้ตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชู้ตตอนถูก ฟาล์วนั้นได้แต้มหรือไม่ เวลาชู้ตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร (15 ฟุต) การที่จะมีฟาล์วหรือไม่อยู่วิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่ ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาล์วของกรรมการ การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาล์วอาจแตกต่างกันในแต่ละเกม ลีก หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน ผู้เล่นหรือโค้ชซึ่งแสดงน้ำใจนักกีฬาที่แย่ เช่น เถียงกับกรรมการ หรือ ชกกับผู้เล่นอื่น อาจโดนเทคนิคัลฟาล์ว หรือ ฟาล์วเทคนิค (technical foul) ซึ่งถูกลงโทษโดยให้อีกทีมได้ชู้ตลูกโทษ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำก็อาจถูกไล่ออกจากสนามได้ ฟาล์วที่เกิดจากการเล่นที่รุนแรงเกินไป จะเรียกว่าฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา หรือ ฟาล์วรุนแรง (unsportsmanlike foul ในสากลหรือ flagrant foul ในเอ็นบีเอ) ก็จะได้รับโทษที่สูงขึ้นกว่าฟาล์วธรรมดา บางครั้งอาจถูกให้ออกจากสนามด้วย
ถ้าทีมทำฟาล์วเกินกว่าที่กำหนด (ในหนึ่งควาเตอร์ หรือ ในครึ่งเกม) ซึ่งก็คือ สี่ครั้งสำหรับกติกาสากลและเอ็นบีเอ ทีมตรงข้ามสามารถชู้ตลูกโทษสำหรับฟาล์วที่เกิดขึ้นครั้งต่อ ๆ ไปจากนั้นจนกว่าจะจบช่วง ไม่ว่าการฟาล์วจะเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูกหรือไม่ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าผู้เล่นฟาล์วรวมห้าครั้งนับเทคนิคัลฟาล์วด้วย (บางลีก รวมถือเอ็นบีเอ ยอมให้ฟาล์วได้หกครั้ง) ผู้เล่นนั้นไม่สามารถเล่นในเกมได้อีก เรียกว่าฟาล์วเอาท์ (foul out)

FIBA ได้กำหนดและจัดทำกติกาบาสเกตบอลอย่างละเอียด ดังนี้
- แต่ละทีมมีผู้เล่นได้ 5 คน เปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ 2 คน 2 ครั้ง
- ภายหลังจากการทำคะแนนปกติหรือจากการโยนโทษ ให้เริ่มการแข่งขันด้วยลูกกระโดด ณ วงกลมกลาง
- มอบหมายให้ Technical Commission ประชุมตกลงเปลี่ยนแปลงกติกาทุก ๆ 4 ปี ภายในปีที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
พ.ศ. 2478 จัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลชายชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ณ กรุงเจนีวา (Geneva) โดยมีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 10 ประเทศ ในครั้งนั้นทีมชนะเลิศ คือ ประเทศแลตเวีย (Latvia) ซึ่งชนะ ประเทศสเปน (Spain) ด้วยคะแนน 24 :18
- การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ณ กรุงออสโล (Oslo) และได้รับการบรรจุในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งต่อไป ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin) นับเป็นรายการแข่งขันที่ใหญ่ที่สุดครั้งแรงของบาสเกตบอล และในการแข่งขันครั้งนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA.) ชนะเลิศ โดยชนะคู่ชิง ประเทศแคนาดา (Canada) ด้วยคะแนน 19:8 ผู้ให้เกียรติมอบเหรียญรางวัล คือ Dr.James Naismith
- FIBA จัดการประชุม ณ กรุงเบอร์ลิน (Berlin)โดยมีรายละเอียดดังนี้
+ ให้เกิดความสมดุลและเสมอภาคระหว่างผู้เล่นฝ่ายป้องกันและฝ่ายรุก
+ จำกัดความสูงของผู้เล่น
+ ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
+ ยกเลิกการเล่นลูกกระโดดหลังจากเกิดทำคะแนนได้ ให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลังแทน
+ แบ่งสนามเป็นสองส่วน
+ เริ่มใช้กติกาว่าด้วย 10 วินาทีในแดนหลัง
+ ฟาล์วบุคคลของผู้เล่นเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
พ.ศ. 2483 Dr.James Naismith ผู้คิดค้นกีฬาบาสเกตบอล ได้เสียชีวิต
พ.ศ. 2491 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 , FIBA ได้ประชุม ณ กรุงลอนดอน (London) โดยมี รายละเอียดที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้
- เริ่มนำกติกาว่าด้วย 3 วินาที
- ห้ามผู้เล่นที่มีความสูงยืนใต้ห่วงประตู
- เพิ่มผู้เล่นสำรองจาก 5 คน เป็น 7 คน
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 4 ครั้ง
- ให้ส่งบอลแทนการโยนโทษในช่วงเวลา 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน
- ให้ยกเท้าหลักได้ก่อนการยิงประตู ,ส่งบอล หรือเลี้ยงบอล
- ผู้เล่นชาวเอเชียเริ่มใช้วิธีการกระโดดยิงประตู
พ.ศ. 2492 จัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลอาชีพ NBA
พ.ศ. 2493 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศชายของโลก ณ ประเทศอาเจนตินา (Argentina)
พ.ศ. 2494 จัดการแข่งขัน NBA-ALL STAR เป็นครั้งแรก ณ กรุงบอสตัน (Boston) ในครั้งนั้นฝั่งตะวันออก ชนะ ฝั่งตะวันตก ด้วยคะแนน 111 : 94
พ.ศ. 2495 หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเฮลซิงกิ (Helsinki) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- เพิ่มฟาล์วบุคคลเป็น 5 ครั้ง (Foul-out)
- เกิดการแข่งขันที่น่าเบื่อ เนื่องจากทีมเล่นช้าลงมากโดยไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำให้ เกิดช่องว่างของการพัฒนาเกมการแข่งขัน
พ.ศ. 2496 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของโลก ณ ประเทศชิลี (Chile)
พ.ศ. 2497 Danny Biason เสนอแนะข้อสรุป และใน NBA เริ่มใช้กติกาใหม่ เพื่อให้เกมการ แข่งขันรวดเร็ว โดยให้ทีมครอบครองบอลต้องยิงประตู ภายใน 24 วินาที
พ.ศ. 2499 ในการแข่งขัน ณ กรุงเมลเบอร์น (Melbourne) มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ฝ่ายรุกต้องยิงประตู ภายในเวลา 30 วินาที
- กำหนดเขตโยนโทษ เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณใต้ห่วงประตู
- FIBA Technical Commission ทบทวนความสมดุลและเสมอภาคของผู้เล่นฝ่ายรุกและฝ่ายป้องกัน การยิงประตูยกเท้าหลักแล้วปล่อยบอลหลุดจากมือ และการเลี้ยงบอลต้องปล่อยบอลหลุดจากมือก่อนยกเท้าหลัก
- เกิดการกระโดดยิงประตูได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการยิงประตู , การส่งบอล และการเลี้ยงบอล
- เกิดยุทธวิธีกำบัง (Screen) การเล่นเต็มสนามของผู้เล่นทำให้ยากต่อการจัดการ
พ.ศ. 2501 จัดการแข่งขันชายชิงชนะเลิศชายของสโมสรยุโรป
พ.ศ. 2502 จัดการแข่งขันชิงชนะเลิศหญิงของสโมสรยุโรป
พ.ศ. 2503 FIBA ประชุม ณ กรุงโรม (Rome) มีการเปลี่ยนแปลง ดังรายละเอียดดังนี้
- 5 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เกิดการฟาล์วบุคคลจะลงโทษด้วยการโยนโทษ 2 ครั้ง
- กระทำฟาล์วแล้วยิงประตูเป็นผล ให้ยกเลิกคะแนน
- ทั้งสองทีมทำฟาล์วซึ่งกันและกัน และบทลงโทษเท่ากัน ให้ยกเลิกบทลงโทษของการโยนโทษ หากบทลงโทษไม่สามารถยกเลิกได้ ให้โยนโทษได้ไม่เกิน 2 ครั้งและครอบครองบอล
- การเปลี่ยนแปลงของบทลงโทษที่สลับซ้ำซ้อนทำให้บางครั้งเป็นสถานการณ์ที่ยุ่ง ยากสำหรับกรรมการผู้ตัดสิน เมื่อต้องมีการนับการยกเลิกบทลงโทษ และจำนวนของการโยนโทษที่เหลือ ทำให้บางครั้งผู้ชมหรือผู้เล่นไม่เข้าใจและเกิดความสับสน
พ.ศ. 2507 เริ่มใช้ ช่วงการเล่น (Play Phase)
- FIBA ได้ประชุม ณ กรุงโตเกียว (Tokyo) ตกลงให้จัดทำหนังสือกติกาที่เข้าใจง่าย
- เกิดระบบของการรุก และมีการยิงประตูทำคะแนนได้เพิ่มขึ้น ความแข็งแกร่งของผู้เล่นมีความสำคัญ เนื่องจากกีฬาบาสเกตบอลค้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา
พ.ศ. 2515 หลังจากการแข่งขันโอลิมปิก ณ ประเทศเม็กซิโก (Mexico), FIBA ได้ กำหนดการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของกติกาดังนี้
- กำหนดหลักทรงกระบอกเหนือห่วงประตู ยกเลิกการห้ามผู้เล่นฝ่ายป้องกันสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตู เมื่อลูกบอลกระทบห่วงประตูผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสามารถเล่นได้
- 3 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วจะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
- หากเกิดฟาล์วทีมให้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการโยนโทษ
FIBA มีการประชุม ณ กรุงมิวนิค (Munich) และได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิก 3 นาทีสุดท้าย ให้ใช้กับทุกนาทีในการแข่งขัน หากเกิดการฟาล์วผู้เล่นที่ไม่มีบอล ให้ส่งบอลเข้าเล่น
- การเปลี่ยนแปลงกติกาทำให้ผู้เล่นฝ่ายป้องกันสามารถละเมิดการฟาล์วเพื่อทำให้ ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่อยู่ในตำแหน่งยิงประตู
พ.ศ. 2516 การแข่งขันชิงชนะเลิศของทวีปยุโรป ณ กรุงบาร์เซโลนา (Barselona) การฟาล์วช่วงใหล้หมดเวลาการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ทำให้การฟาล์วเฉลี่ยต่อเกมสูงถึง 61 ครั้ง ซึ่งมีผลกระทบต่อการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ FIBA ไม่สามารถรอจนถึงการประชุมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งหน้า ดังนั้น FIBA จึงมีการประชุมและกำหนดตกลงดังนี้
- “หากแต่ละครึ่งเวลาทีมกระทำฟาล์วครบ10 ครั้ง จะถูกโยนโทษ 2 ครั้ง ” สำหรับการฟาล์วของทีมครอบครองบอลให้ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นข้าง
พ.ศ. 2517 เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการใช้การฟาล์วทีมครบ 10 ครั้ง
พ.ศ. 2519 ประชุม FIBA ณ กรุงมอลทรีออล (Montreal) มีการกำหนดการเปลี่ยนแปลงใหม่ดังนี้
- ให้มีการใช้กติกาว่าด้วยการฟาล์วทีม 10 ครั้ง บทลงโทษ โยนโทษ 2 ครั้ง
- ผู้เล่นที่ถูกกระทำฟาล์วขณะกำลังยิงประตู บทลงโทษให้ได้โยนโทษใน 3 ครั้ง หากการยิงประตูธรรมดานั้นเป็นผล ให้นับคะแนนและได้โยนโทษ 1 ครั้ง
พ.ศ. 2523 ประชุม FIBA ณ กรุงมอสโคว์ (Moscow) เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- ลดจำนวนการฟาล์วทีมรวม เหลือ 8 ครั้ง
- ฟาล์วเทคนิคที่นั่งทีม และหากฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนครบ 3 ครั้ง ให้เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้ฝึกสอน
- ได้จัดทำเอกสารข้อแนะนำกติกาสำหรับวิธีการพิจารณาหลักการประทะโดยกำหนดผู้ เล่นใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการปะทะนั้น ( ใช้หลักของแนวดิ่ง หมายถึง ช่องว่างเหนือผู้เล่นที่เป็นรูปทรงกระบอก โดยผู้เล่นที่ลอยตัวในอากาศอย่างถูกต้องจะลงสู่พื้นตำแหน่งเดิมก่อนการ กระโดด และการป้องกันอย่างถูกต้องนั้นเป็นลักษณะใด รวมถึงการพิจารณาการสกัดกั้น )
พ.ศ. 2527 FIBA ได้กำหนดกติกาใหม่ดังนี้
- เริ่มใช้การยิงประตู 3 คะแนน (NBA เริ่มใช้เมื่อปี 2526 โดยกำหนดการพยายามยิงประตู 3 คะแนน ด้วยเส้นที่ห่างจากห่วงประตู 6.25 เมตร, NBA 7.24 เมตร ) เป็นการเปิดโอกาสให้สำหรับผู้เล่นที่รูปร่างเล็กสามารถทำคะแนนได้
- ขนาดสนามเปลี่ยนเป็น 15 เมตร * 28 เมตร
- ฟาล์วทีมรวมลดลงเหลือ 7 ครั้ง บทลงโทษ 1+1 (ผู้เล่นโยนโทษครั้งแรกพลาดให้การแข่งขันดำเนินต่อไปทันที)
- ยกเลิกการโยนโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิงประตูโทษสำหรับผู้เล่นขณะกำลังยิง ประตู 2 ใน 3 ให้ใช้บทลงโทษของการพยายามยิงประตูตามพื้นที่ (หากพยายามยิงประตู 2 คะแนนไม่เป็นผล ให้โยนโทษ 2 ครั้ง หากพยายามยิงประตู 3 คะแนนไม่เป็นผลให้โยนโทษ 3 ครั้ง)
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอน เปลี่ยนเป็น โยนโทษ 2 ครั้ง และได้ครอบครองบอล
พ.ศ. 2529 FIBA World Congress ได้กำหนดการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ให้มีการฟาล์วเจตนาและฟาล์วเสียสิทธิ์ต่อผู้เล่น ให้โยนโทษ 2 หรือ 3 ครั้ง และเพิ่มการครอบครองบอล จุดประสงค์เพื่อเพิ่มชนิดของการฟาล์วซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการแข่งขัน
พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ยกเลิกสิทธิ์ในการเลือกสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นและช่วงการเล่น (Play Phase) ยกเลิกข้อจำกัดของการโยนโทษที่เกิดขึ้น ไม่มีข้อยุ่งยากสำหรับทุกคน
- กำหนดเขตที่นั่งทีม
- หากผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมลุกออกจากที่นั่งทีมอย่างไรจึงถูกขานฟาล์ว เทคนิคผู้ฝึกสอน และลุกออกจากที่นั่งทีมขณะเกิดการชกต่อย ให้ขานฟาล์วเสียสิทธิ์ทันที
- ให้กรรมการผู้ตัดสินยื่นส่งบอลให้แก่ผู้เล่นทุกจุดที่มีการส่งบอลเข้าเล่น
- ห้ามผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นก้าวเท้าเกินกว่า 1 เมตร ในทิศทางเดียวกันก่อนการปล่อยบอลจากการส่ง
- ผู้เล่นที่ยืนช่องโยนโทษเข้าแย่งบอลจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียวเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้โยนโทษ
- ผู้ตัดสินสามารถแก้ไขความผิดผลาดที่เกี่ยวกับการโยนโทษและคะแนน
พ.ศ. 2535 FIBA เปิดโอกาสให้ผู้เล่นอาขีพสามารถลงแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุง บาร์เซโลนา (Barcelona) ซึ่งเรียกว่า ‘Dream Team’ ได้รับการสนใจจากบุคคลทั่วโลก
พ.ศ. 2537 FIBA ได้ปรับปรุงกติการ ดังนี้
- กำหนดระบบการแข่งขัน 2 x 20 นาที หรือ 4x12 นาที
- การส่งบอลเข้าเบ่นให้ส่งใกล้จุดเกิดเหตุ รวมถึงเส้นหลัง
- ผู้เล่นกำลังยิงประตู ให้นับรวมถึงกรณีผู้เล่นการลอยตัวในอากาศจากการยิงประตูจนกว่าเท้าสัมผัสพื้นทั้งสองข้าง
- สามารถกระโดดยัดห่วง (Alley-oop) จากการส่งบอลและลูกบอลนั้นย้อยลงมาเหน็จห่วงได้
- เปลี่ยน ‘ฟาล์วเจตนา’ เป็น ‘ฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา’
- ยกเลิกบทลงโทษ ‘1+1’ ให้ใช้บทลงโทษการโยนโทษ 2 ครั้ง แทน
- หากผู้เล่น,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ ต้องออกจากสนามแข่งขันกลับไปยังห้องพักหรือออกจากอาคารการแข่งขัน
- จากสถานการณ์การโยนโทษ ให้มีผู้เล่นทั้งสองทีมทำการแย่งลูกบอลในช่องยืนโยนโทษ ไม่เกิน 6 คน (รวมผู้โยนโทษด้วย ทีมละ 3 คน)
พ.ศ. 2541 FIBA ได้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา ดังนี้
- ยกเลิก ‘บอลเข้าสู่การเล่น (Ball in Play)’
- เปลี่ยนแปลง ‘บอลดี’ ขณะส่งบอลเข้าเล่นและการเล่นลูกกระโดด
- ขอเวลานอกเพิ่มเป็น 3 ครั้ง
- 2 นาทีสุดท้ายของครึ่งเวลาหลังหรือช่วงต่อเงลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูธรรมดาเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด
- ผู้เล่นผ่ายรุกปละฝ่ายป้องกัน ห้ามสัมผัสลูกบอลเหนือห่วงประตูและขณะลูกบอลการะทบกระดานหลังจากการยิงประตู
- บทลงโทษของการฟาล์วคู่ ทีมที่ครอบครองบอลแล้วเกิดกระทำฟาล์วคู่ ยังคงได้ส่งบอลเข้าเล่นแทนการเล่นลูกกระโดด
- ใช้ ‘ ฟาล์วเทคนิคขาดน้ำใจนักกีฬา ’ ให้โยนโทษ 2 ครั้งและครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 Central Broad of FIBA ได้เปลี่ยนแปลงกติกาดังนี้
- ระบบการแข่งขัน เป็น 4 period ๆ ละ 10 นาที (4X10 นาที)
- ฟาล์วทีมรวมเหลือ 4 ครั้งต่อ period ครั้งต่อไปให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- พักการแข่งขัน period ที่ 1-2,3-4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ 2 นาที พักการแข่งขัน period ที่ 2-3 เป็นเวลา15 นาที
- ขอเวลานอก period ที่ 1,2,3หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษได้ 1 ครั้ง ขอเวลานอก period ที่ 4 ได้ 2 ครั้ง
- ให้เวลานอก 1 นาทีเต็ม ถึงแม้ทีมที่ขอเวลานอกพร้อมแข่งขัน
- เปลี่ยนกติกาว่าด้วย 30 วินาที และนาฬิกา 24 วินาทีเริ่มต้นนับใหม่เมื่อลูกบอลหลุดจากมือจากการยิงประตูและสัมผัสห่วง ประตู หากลูกบอลลอยในอากาศจากการยิงประตูแล้วเสียงสัญญาณ 24 วินาทีดังขึ้นนาฬิกาแข่งขันหยุดทันที หากบอลเข้าห่วงประตู ให้นับคะแนน หากไม่ลงถือเป็นผิดระเบียบ ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่น
- ทีมครองครองบอลต้องพาบอลสู่แดนหน้า ลดเหลือ 8 วินาที
- ช่วง 2 นาทีสุดท้ายของ period ที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาเพิ่มพิเศษ เมื่อเกิดการยิงประตูเป็นผล นาฬิกาแข่งขันจะหยุด ทีมที่มีสิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่นจากการเสียประตู ขอเปลี่ยนตัวได้ และฝ่ายตรงข้ามขอเปลี่ยนตัวตามได้
- FIFA จะใช้ระบบการตัดสิน 3 คน สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งโลก
- สำหรับระบบการตัดสินใจ 3 คน หากฝ่ายจัดการแข่งขันพิจารณาแลัวและมีความเห็นให้ใช้ก็สามารถกระทำได้
- บทลงโทษการฟาล์วเทคนิคผู้เล่น ให้โยนโทษ 1 ครั้ง และครอบครองบอล
พ.ศ. 2543 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เอกสารการวินิจฉัยและตีความอธิบายรายละเอียดของกติกาและเหตุการณ์ ที่เกิดให้ชัดเจนขึ้น
พ.ศ. 2544 FIBA Technical Commission ได้เผยแพร่เดกสารเน้นจุดสำคัญของการปฏิบัติ เช่น การลงโทษ,การพิจารณาการเล่นที่ได้เปรียบ/เสียเปรียบ
- ได้เผยแพร่เอกสารเน้นการแข่งขันอย่างรวดเร็ว,การเคลื่อนที่ของผู้ตัดสินใน สนาม, ระบบการตัดสินที่ชัดเจน และการวินิจฉัยตีความเพื่อแนวทางในมื่อเกิดเหตุการณ์ในสนาม
เมื่อสิ้นทศวรรตที่ 20 (พ.ศ.2543) ประมาณกันว่ามีผู้นิยมกีฬาบาสเกตบอลกว่า 250 ล้านคน และมีประเทศที่เป็นสมาชิกสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (F.I.B.A.) 208 ประเทศ


https://sites.google.com/site/phadapeet/calendar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น